ทำไมต้อง เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ประกันตน และนายจ้างกว่า 24 ล้านคน

26 ต.ค. 66

ทำไมต้อง เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ประกันตน และนายจ้างกว่า 24 ล้านคน มีบทบาทหน้าที่อะไรในการบริหารประกันสังคม

การจัดการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งกำหนดจัดการเลือกตั้งในวันที่ 24 ธ.ค. 2566 เวลา 08.00-16.00 น. โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยลูกจ้าง 1 คน และนายจ้าง 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนได้ฝ่ายละ 7 คน” พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ตามคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ผู้ประกันตน ต้องมีสัญชาติไทย ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนเดือนที่มีการประกาศให้มีการเลือกตั้ง (มี.ค.- ส.ค. 2566) จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศเลือกตั้ง)

นายจ้าง ต้องมีสัญชาติไทย ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่มีประกาศให้มีการเลือกตั้ง (มี.ค.- ส.ค. 2566) จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศเลือกตั้ง) กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลผู้จะใช้สิทธิต้องอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจหรือกรณีเป็นผู้มีอำนาจในนิติบุคคลมากกว่า 1 นิติบุคคลต้องเลือกใช้สิทธิได้เพียงแห่งเดียว

ทำไมต้องเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม

iLaw ได้ให้ข้อมูลว่า การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อจะเลือกบุคคลเป็นตัวแทนของผู้ประกันตน และนายจ้างกว่า 24 ล้านคนในระบบประกันสังคม ให้เข้าไปทำหน้าที่เสนอความเห็นและนโยบายในการดูแลจัดการบริหารกองทุนประกันสังคมกว่า 2.3 ล้านล้านบาท เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้แรงงาน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปี หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 เลื่อนการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมมา ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2558

หน้าที่บอร์ดประกันสังคม

บทบาทหน้าที่ของบอร์ดประกันสังคม สามารถเสนอความเห็นและนโยบายต่อรัฐมนตรี เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม ซึ่งจากข้อมูลระบุว่ากองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนสะสมในกองทุนฯ เมื่อปี 2565 อยู่ที่ 2,271,818 ล้านบาท และในปี 2566 ณ 30 มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 2,345,347 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70 % ของ GDP

ปฏิทินเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม

  • 12-31 ต.ค.2566 ลงทะเบียนใช้สิทธิผ่านช่องทางเว็บไซต์ประกันสังคม
  • 25-31 ต.ค.2566 รับสมัครเลือกตั้ง
  • 1-7 พ.ย.2566 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร พร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้สมัครทราบ
  • 8-10 พ.ย.2566 ผู้สมัครคัดค้านความเห็นเจ้าหน้าที่
  • 10 พ.ย.2566 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • 11 พ.ย. - 14 ธ.ค.2566 การขอเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • 21 พ.ย.2566 ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งและหมายเลขผู้สมัคร
  • 22-26 พ.ย.2566 การขอเพิ่มชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง
  • 4 ธ.ค.2566 ประกาศเพิ่มชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง
  • 24 ธ.ค.2566 วันลงคะแนนเลือกตั้ง

 2023-10-155277

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส