คืนนี้รับน้ำก้อน 2 ! เชียงใหม่อ่วม น้ำปิงวิกฤติน้ำปีนี้สูงกว่าปี 54

5 ต.ค. 67

มหาอุทกภัยปี 2567? มวลน้ำปิงท่วมเมืองเชียงใหม่สูงกว่า ปี 2554 แล้ว ระดับน้ำล่าสุดยังสูง ล่าสุดชลประทานเตือนระวังมวลน้ำก้อน 2 มาแน่คืนนี้

สำนักงานชลประทานที่ 1 รายงานเหตุการณ์เฝ้าระวังระดับน้ำปิง ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ณ โดยเมื่อช่วงตี 1 ที่ผ่านมา ระดับน้ำถือว่าวิกฤติ อยู่ที่ 5.23 เมตร ถือว่าสูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ในตอนแรก

แต่ระดับน้ำวิกฤติที่สุดในวันนี้ คือ เมื่อช่วง 12.00 และ 13.00 น. ระดับน้ำวิกฤตที่ 5.30 เมตร ถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์ มากกว่าเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ระดับน้ำสูงสุดที่ 4.93 เมตร ส่วนในปี 2554 ระดับน้ำในจุดเดียวกันนี้อยู่ที่ 4.94 เมตร

ขณะที่ช่วงบ่ายที่ผ่านมาระดับน้ำ ลดลงแค่ 1 เซนติเมตร ล่าสุด เมื่อ 16.00 ระดับน้ำอยู่ที่ 5.29 เมตร  

1728120074166

ล่าสุดมีคำเตือนมวลน้ำก้อนที่ 2 โดย สำนักงานชลประทานที่ 1 คาดหมายว่ามวลน้ำในแม่น้ำปิงจากอำเภอเชียงดาวจะไหลผ่านที่สถานี P.1 ในวันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 01.00-02.00 น. โดยมวลน้ำดังกล่าวจะทำให้ ปริมาณน้ำที่สถานี P1 อยู่ที่ระดับประมาณ +5.10 เมตร หากไม่มีฝนตกในพื้นที่ และหลังจากนั้นระดับน้ำที่สถานี P.1 จะทรงตัวระยะหนึ่ง แล้วจะค่อย ๆ ลดระดับลงจนอยู่ในสภาพการไหลปกติในทางน้ำภายใน 5 วัน

462000254_1086624376166981_74

จากการคาดหมายสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงข้างต้น ขอแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงที่จะประสบอุทกภัย จากน้ำปิงเอ่อล้นตลิ่ง ดังนี้

1.พื้นที่ลุ่มต่ำตามแนวแม่น้ำปิง ในพื้นพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย อำเภอเชียงดาว อำเภอ

แม่แตง อำเภอแม่ริม อำเภอเมือง เทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอสารภี อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอ

ดอยหล่อ อำเภอจอมทอง และอำเภอฮอด และในพื้นพื้นที่จังหวัดลำพูน ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอป่าชาง

อำเภอเวียงหนองล่อง และอำเภอบ้านโฮ่ง

2.พื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ในพื้นที่เสี่ยงทุกโซน (โซนที่ 1-7) รวมถึงพื้นที่ตอนล่างที่มี

บริเวณคิดต่อกับพื้นที่โซนที่ 7 (พื้นที่ในเขตอ๋าเภอสารถี ที่เคยเกิดอุทกภัยในช่วงวันที่ 26-28 กันยายน 2567

ที่ผ่านมา)

461994175_1086624629500289_59_1

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

  1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ
  2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
  3. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำแนวเขื่อน

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส