จากกระแสของราคาน้ำมันที่ขึ้นสูง และการรณรงค์เรื่องมลภาวะอากาศ อย่าง PM 2.5 ทำให้ผู้คนหันมาใช้รถพลังงานทางเลือกอย่างรถยนต์ไฟฟ้าแทนรถน้ำมัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ยอดขายรถไฟฟ้า BEV และรถไฟฟ้าปลั้กอินไฮบริด (PHEV) มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดในประวัติการณ์ กว่า 10 ล้านคันทั่วโลก ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น 55% จากปี 2022 และเกือบครึ่งมาจากตลาดจีน
สิ่งเหล่านี้ทำให้ส่วนแบ่งของรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดทั่วโลก มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงอย่างก้าวกระโดด เช่น 4% ในปี 2020 เป็น 14% ในปี 2022 และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มเป็น 18% ในปีนี้
อีกทั้ง ในประเทศไทย มียอดจองรถยนต์ไฟฟ้า กว่า 9,234 คัน หรือคิดเป็น 21% จากงานมอเตอร์โชว์ 2023 ในตลาดในยุโรป มียอดขายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่า 15% ในปี 2022 หรือเรียกได้ว่า 1 ใน 5 ของรถที่ขับในถนนเป็นรถ EV และตลาดสหรัฐฯตอนนี้ ยอดจองรถไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึง 55% จากปี 2022
จากรายงานขององค์กร IEA ปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 26 ล้านคันแล่นอยู่ในท้องถนนทั่วโลกซึ่งเพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ผู้อำนวยการบริหารของ IEA กล่าวว่า “ อุตสหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกและเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของประวัติศาสตร์ หลังจากเครื่องยนต์สันดาปไร้คู่แข่งมามากกว่าศตวรรษ ตัวแปรสำคัญอย่าง ราคาน้ำมันทั่วโลกได้มีการปรับขึ้นสูง ทำให้เกิดสัญญาณที่ดีต่ออุตสหกรรมรถ EV”
พร้อมทั้งเสริมว่า รถยนต์ไฟฟ้ายังเป็นเพียงคลื่นลูกแรก รถเมล์ไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้าอาจจะตามมาเป็นคลื่นลูกใหม่ในไม่ช้านี้ อีกทั้งได้มีการคาดการณ์ว่าภายใน 2030 ผู้คนจะหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้อาจะลดการใช้น้ำมันได้ถึง 5 ล้านบาร์เรล/วัน เลยทีเดียว
ความท้าทายของตลาดรถน้ำมันในอนาคต เพื่อความยั่งยืน
โดยสหราชอาณาจักร ต้องการหยุดขายรถยนต์และรถตู้ดีเซลและเบนซิน ภายในปี 2030 และออกนโยบายการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียเป็นศูนย์ในปี 2035 ขณะที่สหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนีย ออกนโยบายสั่งห้ามขายรถยนต์น้ำมัน ภายในปี 2035
‘จีน’ เต็งหนึ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
องค์การ IEA ยังได้เปรียบประเทศจีน เหมือน “ตัวเต็งหนึ่ง” หรือเจ้าตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ตามมาด้วย ตลาดยุโรป และสหรัฐฯ อีกรถEV ในประเทศอินเดีย ไทย และ อินโดนิเซีย ก็มีความเติบโตที่ดี และโดยรวมทั้ง 3 ประเทศ มียอดขายรถไฟฟ้ามากถึง 80,000 คันในปี 2021
นอกจากนี้ สำนักข่าว CNBC เปิดเผยว่า ประเทศจีนมีการนำเทคโนโลยีช่วยขับขี่ (Assisted Driving) เพื่อเป็นช่องทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย บริษัท McKinsey ได้ประเมินถึงระบบขับขี่อัตโนมัติจะสามารถสร้างรายได้ทั่วโลกกว่า 3-4 แสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2035
ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าในจีน เร่งพัฒนาเทคโนยีช่วยการขับขี่
ล่าสุด Huawei ได้ออก “Huawei ADS 2.0” ที่ผู้ใช้สามารถเลือกจ่ายตลอดชีพในราคา 36,000 หยวน (177,292 บาท) หรือ 7,200 หยวน/ปี (35,458บาท) ที่สามารถใช้ในรถ Aito M5, Avatr 11 และ Arcfox Alpha S
ขณะที่ Li Auto Inc เป็นผู้ผลิตรถยนต์โดยสารพลังงานใหม่ (NEV) ที่มีฐานอยู่ในจีน ดำเนินธุรกิจหลักในการออกแบบ พัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือรถยนต์อเนกประสงค์แบบสปอร์ต (SUV) ภายใต้แบรนด์ Li ONE ได้มีแผนที่เปิดตัวเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ “ฟรีตลอดชีพ”แก่ลูกค้าใน 100 เมืองในประเทศจีน ภายในสินปีนี้
Tesla ตอนนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ (Full Self Driving) มีแต่เพียงระบบ Autopilot ที่ช่วยขับขี่บนทางหลวงเท่านั้น ซึ่งบริษัทรถยนต์ของ Elon Musk ให้ความสำคัฐกับเรื่องการใช้กล้อง และปัญญาประดิษฐ์ในการบังคับทิศทางรถ แบบไม่ต้องใช้แผนที่ HD
อย่างไรก็ตาม แม้จีนจำนำเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้ขับขี่มาใช้ ก็ยังไม่แน่ใจว่าผู้บริโภคในจีนจะสนใจหรือไม่ เพราะในปีนี้ตลาดให้ความสนใจการลดราคาของราคารถยนต์ไฟฟ้า
ปีนี้เราคงต้องจับตาดูกันว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า EV จะสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ติดต่อกันเป็นปี 2 หรือไม่ เมื่อค่ายรถยนต์ไฟฟ้า จากทุกประเทศทั่วโลก ต่างมีการขยายฐานการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีให้ล้ำสมัย ประกอบกับคาดว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าจะมีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดใจให้ผู้บริโภคหันมาตัดสินใจซื้อมากขึ้นและเร็วขึ้น