เข้าสู่ปี 2567 พนักงานบริษัทเอกชนหลายแห่งบ้างได้รับข่าวดีทั้งการปรับเงินเดือนและโบนัส แต่หลายคนอาจจะเจอสถานการณ์ตรงกันข้ามอาจไม่ได้ทั้งโบนัสและขึ้นเงินเดือน หนักหน่อยก็ถูกปลดออกจากงานแบบไม่ทันตั้งตัวก็มี
สภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตเป็นสิ่งที่ “ยากขึ้นเรื่อยๆ” นั่นเพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และเปลี่ยนเร็วจนทำให้เจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นไซส์ใหญ่ หรือไซส์เล็กต้องเร่งปรับตัวให้เท่าทันอยู่ตลอดเวลา
และหัวใจสำคัญที่สุดในองค์กรก็คือ ‘คน’ หรือพนักงาน หากไม่มีเป้าหมายเดียวกัน ไม่พร้อมปรับตัวและเปลี่ยนแปลงก็ยากที่องค์กรนั้นจะไปต่อได้
SPOTLIGHT หยิบยกบทความที่น่าสนใจของ PRTR บริษัทที่ทำธุรกิจด้าน Total HR Solutions ในประเทศไทย ออกมาเปิดเผยถึงเทรนด์การบริหารบุคลากรยุคใหม่ ในปี2567 โดยพบว่า ในการทรานส์ฟอร์ม “คน” เป็น Key Driver สำคัญในความสำเร็จของธุรกิจและ “พนักงานขาดทักษะ” คือปัญหา “อันดับหนึ่ง” ที่ทำให้องค์กรไปต่อไม่ได้
บริษัท พีอาร์ทีอาร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PRTR หนึ่งในผู้นำธุรกิจด้าน Total HR Solutions ในประเทศไทย ออกมาเปิดเผยถึงเทรนด์การบริหารบุคลากรยุคใหม่ เผยความสำคัญในการทรานส์ฟอร์ม “คน” เป็น Key Driver สำคัญในความสำเร็จของธุรกิจ
โดย นางสาวริศรา เจริญพานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีอาร์ทีอาร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PRTR หนึ่งในผู้นำธุรกิจด้าน Total HR Solutions ในประเทศไทย เผยว่า ทุกวันนี้ไม่มีองค์กรไหนไม่รู้จักคำว่า Business Transformation และองค์กรส่วนใหญ่ที่พยายาม Transform มักให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนระบบ หรือนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ แต่มองข้ามความสำคัญของการ Transform “คน” ทำงานไปพร้อมๆ กัน จนเกิดช่องว่างของทักษะ (Skill Gap) พนักงานขาดทักษะที่จำเป็นที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จนทำให้การ Transform นั้นไม่สำเร็จ
สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงาน Future of Job Report 2023 โดย World Economic Forum (WEF) ที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการ “ขาดคนทำงาน” ที่มีทักษะและศักยภาพที่จำเป็น และการไม่สามารถดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงาน ถูกโหวตเป็น 2 อันดับสูงสุดของ “อุปสรรค” ที่ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงไม่ได้
“องค์กรที่ transform สำเร็จ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพราะมีเทคโนโลยีล้ำสมัยและแผนธุรกิจที่เข้มแข็ง แต่เขามี “คน” ที่มีทักษะที่ตอบโจทย์ความความต้องการของโลกการทำงานที่เปลี่ยนไป สามารถขับเคลื่อน ใช้งาน และต่อยอดวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรได้”
คุณริศรา เสริมว่า วิธีที่จะมีคนทำงานที่เก่งและใช่ มีทักษะที่ทันโลกอยู่ในองค์กร ได้แก่ 1.การดึงดูดคนเก่งเข้ามาร่วมงาน 2.การรักษาคนเก่งที่มีอยู่ในมือไว้ 3.การสร้างหรือพัฒนาคนเก่าให้เก่งขึ้น
ทั้งสามวิธีล้วนต้องอาศัยการออกแบบหลักสูตร “อบรม” (training) และแผนการ “พัฒนา” บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
ในยุคที่ทุกอย่างเร็ว หลากหลายเข้าถึงง่าย รูปแบบการเทรนนิ่งก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน องค์กรต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้เรียน และวางแผนการเรียนรู้ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ตามเทรนด์การเรียนรู้ของคนเปลี่ยนไป
ข้อมูลจาก SHRM พบว่า ในปี 2023 สัดส่วน 62% ของผู้เรียน ชอบการเรียนรู้แบบผสมผสาน (hybrid) ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ มากกว่าการเทรนนิ่งที่จำกัดแค่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
1.โฟกัสกับเนื้อหาที่ สั้น กระชับ ใช้เวลาไม่นาน และใช้งานต่อได้ทันที (micro-learning) มากขึ้น
2.มุ่งเน้นการเทรนนิ่งที่สามารถออกแบบตามความต้องการของพนักงานแต่ละคนได้มากขึ้น(personalised)
3.เพิ่มการเรียนรู้ที่ทำให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับกลุ่มหรือมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับผู้อื่น (social learning)
World Economic Forum (WEF) รายงานว่า องค์กร 44% คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปี ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานจะถูก disrupt และเปลี่ยนไป อย่างไรก็ดี Analytical Thinking เป็นทักษะที่ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง สะท้อนความต้องการความสามารถในการ “คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา” อย่างมีประสิทธิภาพในการทำงาน
คุณริศรา ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลากหลายแหล่งข้อมูลที่ศึกษาเทรนด์ของทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในโลกยุคใหม่ ทั้ง World Economic Forum (WEF), Forbes, E-Learning Industry, Coursera, Havard Business Review, HR Forecast, และ LinkedIn Learning พบว่า 10 ทักษะที่องค์กรมองว่าพนักงานต้องมี ถูกจัดอันดับและให้ความสำคัญสูงสุด เป็น Future of Work 2023 - 2027 ได้แก่
ข้อมูลจากรายงานของ World Economic Forum (WEF) ตอกย้ำเทรนด์ความยืดหยุ่นและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับตัวเอง พบว่า นอกจากทักษะด้าน Soft Skills ที่องค์กรให้ความสำคัญ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ภาวะผู้นำ ฯลฯ พนักงานส่วนใหญ่ ยังเลือกเรียนและพัฒนาด้าน Hard Skills ทักษะเชิง Technical รวมถึงทักษะ “พื้นฐาน” ที่สำคัญต่อการทำงานของตัวเอง เช่น การอ่าน การเขียน การคำนวณ
การเลือกเสริมทักษะพื้นฐานของพนักงานรายบุคคลนี้เป็นไปเพื่อพัฒนาให้ตนเองสามารถตอบโจทย์ความคาดหวังขององค์กรในภาพใหญ่ และต่อยอดไปสู่การเชี่ยวชาญในสกิลที่เป็นที่ต้องการได้ดียิ่งขึ้น
“องค์กรอาจมองเห็นในภาพกว้างได้ชัดเจนกว่า ว่าต้องเพิ่มเติมให้พนักงานมีทักษะด้านใดเพื่อให้ธุรกิจทันโลกและการเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีพื้นที่และตัวเลือกให้พนักงานได้เลือกและเรียนรู้ในสิ่งที่แต่ละคนมองว่าจำเป็นต่อการเติบโตและทำงานของตัวเองเช่นกัน” คุณริศรา เสริม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://business.theblacksmith.io