หลายๆคนอาจจะรู้จัก Dairy Queen (แดรี่ ควีน) จากไอกรีมเหนียวนุ่ม ‘บลิซซาร์ด คว่ำไม่หก’ และไอศกรีมแบบซอฟต์เสิร์ฟ (Soft Serve) ที่มีรสสัมผัสเนียนนุ่ม ละมุนลิ้น จนสามารถสร้างแบรนด์มายาวนานกว่า 86 ปี
แบรนด์ Dairy Queen ถือกำเนิดให้ปี ค.ศ.1938 จาก John Fremont McCullough และลูกชาย ผู้ที่ชื่นชอบการกินไอกรีมเป็นชีวิตจิตใจ พร้อมกับสูตรลับแห่งความอร่อย นั้นก็คือ ไอศรีมจะมีรสชาติอร่อยขึ้นจากรสสัมผัสเนียนนุ่ม หากมีการผลิตสดใหม่จากเครื่องทำไอกรีม พวกเขาจึงได้ทดลองขาย ปรากฏว่าแค่ 2 ชั่วโมง ขายได้ 1,600 ถ้วย ต่อมาจึงได้เปิดร้าน Dairy Queen แห่งแรกขึ้นที่รัฐอิลลินอยส์
เริ่มแรก Dairy Queen กลายเป็นที่รู้จักจากสัญลักษณ์’ไอศครีมโคนบอลกลม หัวรูปตัวดี’ อันโดดเด่นจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีของธุรกิจผลิตภัณฑ์นม” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Dairy Queen
โดย Dairy Queen ถือเป็นธุรกิจอาหารรายแรกๆที่ใช้ระบบแฟรนไชส์ ซึ่งได้เสียงจากตอบรับผู้บริโภคอย่างดีมาก โดยมีสาขาถึง 2,600 สาขา ภายใน 15 ปีแรก ทำให้ปัจจุบัน Dairy Queen มีร้านทั่วโลก กว่า6,400 สาขา ใน 25 ประเทศ
ส่วนในประเทศไทย กลุ่มบริษัท Minor Food Group ผู้นำด้านฟาสต์ฟู้ดในประเทศไทย ได้ซื้อลิขสิทธิ์เพื่อเปิดกิจการร้าน Dairy Queen ร้านแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อปี ค.ศ.1996 นับจากวันนั้นถึงวันนี้ Dairy Queen มีการขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันแดรี่ควีนมีจำนวนสาขาครอบคลุมกว่า 520 แห่ง พร้อมตั้งเป้าขยายให้ได้ 1,000 สาขา ภายในอีก 5 ปี
Dairy Queen ประเทศไทย มีการดำเนินกลยุทธ์ที่เน้นการตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วยเมนูแปลกใหม่และรสชาติที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับการออกโปรโมชันส่งเสริมการขายเพื่อขยายฐานกลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เช่น
ทำให้ภาพรวมการเติบโต ปี 66 ผ่านมา มีการเติบโตถึง 70% ยอดขายตั้งแต่ปี 2021-2023 โต 30% ซึ่งก็ถือว่าเป็นไปตามยอดเฉลี่ยการเติบโต 30% ทุกปีหลังโควิดระบาด ส่วนในปี 67 นี้ ตั้งเป้าโตอยู่ที่ 30% พร้อมกับการออกสินค้าใหม่ทุกปี 7 แคมเปญ แต่ละแคมเปญ อยู่ 1 เดือนครึ่ง หรือ 1 เดือน 45 วัน
โซเชียลมีเดีย ถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักในการสื่อสารกับลูกค้าทุกGen หาก Engagement ดี ลูกค้ามีซื้อสินค้าที่ดีและบอกต่อผ่านทางโซเชียลมีเดีย
และมีการสนับสนุนใหพนักงานอัดวีดีโอ ในช่วงระหว่าการทำเค้ก ทำไอกรีมเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึง inside kitchen ซึ่งโดยปัจจุบัน Dairy Queen ประเทศไทย มีพนักงาน 3,000 คน
แม้ว่าปัจจุบันกลุ่มไอศกรีม เป็นเหมือนฮีโร่หลักที่สร้างยอดจำหน่ายให้แก่ Dairy Queen เช่น บลิซซาร์ด, ซอฟต์เสิร์ฟ, ไอศกรีมซันเด โดยสามารถแบ่งเป็น กลุ่มไอศกรีม 65%, เค้กไอศกรีม 25% และเครื่องดื่ม 10%
แต่ในปีนี้ Dairy Queen ประเทศไทย จะมีการโฟกัสที่กลุ่มเครื่องดื่มมากขึ้น เช่นเดียวกับการออกเมนูซีซันนอลให้มีความหลากหลายขึ้นกว่าเดิม
ในปี 67 แดรี่ควีนตั้งเป้าสู่การเป็น “The playground for a sweet pause” หรือ ที่ที่ให้คุณได้แวะพัก เติมพลังให้กับชีวิต ผ่านการปรับโฉมแบรนด์ครั้งใหม่ ภายใต้คาแรกเตอร์ ทันสมัย รักสนุก และมีพลัง (Modern, fun-loving, energetic) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่ลูกค้าทุกคน
นอกจากนี้ Dairy Queen ยังได้วางกลยุทธ์เพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์และเมนูต่าง ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ความอร่อยและเป็นพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้แวะพักและเติมพลัง ด้วยการเปิดตัว “DQ Lounge” ร้านในคอนเซปต์ใหม่ ที่มาในบรรยากาศสุดโมเดิร์นพร้อมพื้นที่รองรับการให้บริการที่มากขึ้น มาพร้อมเมนูพิเศษที่มีจำหน่ายเฉพาะที่ DQ Lounge เท่านั้น เช่น เบเกอรี่ และ พาร์เฟต์ โดยได้เปิดให้บริการแล้วที่ร้านแดรี่ควีน ชั้น 1 เซ็นทรัลเวสต์เกต
ในปี 67 Dairy Queen ประเทศไทย มีแผนขยายสาขาไปยังพื้นที่นอกเหนือจากห้างสรรพสินค้า เช่น อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัย และร้านขายส่งเพิ่มเติมเพื่อสร้างการเข้าถึงและใกล้ชิดกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มศักยภาพการบริการในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค เช่นเดียวกับ การรีโนเวตสาขาเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น
แม้ว่าที่ผ่านมา Dairy Queen ได้ลดการใช้พลาสติกไปแล้วมากกว่า 50% และเตรียมพัฒนาแพคเกจที่เก็บอุณหภูมิได้ รักษาสภาพสินค้าได้ดีและลูกค้าสามารถเก็บแพคเกจนั้นไว้เป็นของที่ระลึกได้อีกด้วย
ในปี 67 นี้ Dairy Queen จะมีการเปิดตัว EV Truck คันแรกของ Dairy Queen ประเทศไทย เดินหน้าเป็นผู้นำในการรักษ์โลก และที่สามารถเสิร์ฟไอกรีมให้ลูกค้าในทุกพื้นที่ โดยในปีนี้คาดว่าจะมี EV Truck ถึง 5 คันด้วยดัน ซึ่งมีข้อดีดังนี้