ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV กลายเป็นหนึ่งใน อุตสาหกรรมดาวรุ่ง ที่มีผู้เล่นหลากหลายสัญชาติเข้ามาเล่นในตลาด ทั้งในฝั่งของแบรด์ผู้บุกเบิกตลาดรถEV สัญชาติอเมริกา อย่าง Tesla หรือแม้แต่ม้ามืดที่น่ากลัวอย่าง BYD เจ้าพ่อตลาดรถ EV ที่เป็นคู่แข่งตัวสำคัญของ Tesla
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดโลกรถ EV ในปัจจุบัน ค่ายจีนสามารถครองสัดส่วนตลาดได้ครึ่งหนึ่งแล้ว และอาจเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าไปเป็น 33% ในปี 2030 ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ฝั่งตะวันตกเคยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 81% แต่ในปี2023 ลดลงเหลือ 58% จากสถิตินี้ดูเหมือนว่า รถ EV สัญชาติจีนจะกลายเป็นผู้ครองบัลลังค์ศึกแห่งรถ EV ในครั้งนี้ และสามารถทำให้แบรนด์จากค่ายตะวันตกสูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปถึง 20%
สำหรับประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน และหากเราไปดูถึงสัดส่วนค่ายรถ EV ที่ครองตลาดไทย เราจะพบว่ากว่า 80% เป็นค่ายจากประเทศจีน
เปิด 10 อันดับ ยอดจดทะเบียนสะสมรถ EV สูงสุด ประจำเดือน มี.ค.67
-
อันดับ 1 BYD Dolphin : 596 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 2 NETA V : 576 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 3 MG 4 : 505 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 4 Tesla Model 3 : 494 คัน (ค่ายสหรัฐ)
-
อันดับ 5 Aion Y Plus : 484 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 6 Deepal S07 : 395 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 7 BYD Seal : 295 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 8 Aion ES : 251 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 9 BYD Atto 3 : 241 คัน (ค่ายจีน)
-
อันดับ 10 ORA Good Cat : 169 คัน (ค่ายจีน)
ทำให้ค่ายรถยนต์ทั้งฝั่งจีนและชาติอื่นๆต่างออกกลยุทธ์ โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อมัดใจผู้บริโภค และหนึ่งในนั้น คือการแข่งขันหั่นราคา
ตัวอย่าง 4 แบรนด์ดังในศึกหั่นราคา EV
Tesla (ลดราคา Model Y สูงสุด 1.5 แสนบาท)
- Model Y Rear-Wheel Drive เปิดตัว1,749,000 บาท เหลือ 1,699,000 บาท
BYD (แคมเปญลดราคาทุกรุ่น สูงสุด 2.5 แสนบาท)
- BYD Dolphin รุ่น Standard Range 44.9 kWh
เปิดตัว 699,999 บาท เหลือ 659,900 บาท
- BYD Atto 3 รุ่น Standard Range
เปิดตัว 1,099,900 เหลือ 899,900 บาท
- BYD Seal รุ่น Dynamic RWD 61.4 kWh
เปิดตัว 1,325,000 เหลือ 1,199,000 บาท
AION (ลดราคารอบที่ 4)
- Aion Y Plus 490 Premium เปิดตัว1,099,900 บาท เหลือ 949,900บาท
GMW (รุ่นเดิมโฉมใหม่ ที่ราคาถูกลง)
- Ora Good Cat Pro 2021 เปิดตัว 1, 059,000 บาท
- Ora Good Cat Pro 2024 (รุ่นประกอบไทย) เปิดตัว 799,000 บาท
ทำไมรถEV ค่ายจีนถึงครองตลาด?
1.สเปคสูงราคาต่ำ
หากเมื่อ 10 ปีก่อน เราอยากได้ รถสเปคจัดเต็ม หรูหราอย่าง เบาะหนังแท้ไฟฟ้า หน้าจอสัมผัสความละเอียดสูงขนาดใหญ่ ฮอตสปอต Wi-Fi การเชื่อมต่อแอพ เครือข่ายรถยนต์ และอื่นๆ เราอาจจะต้องซื้อรถยนต์รุ่นไฮเอนด์แบรนด์ยุโรป ที่มีค่าตัวอย่างน้อยๆ 2 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมาตรฐานเหล่านี้กลายมาเป็น มาตรฐานขั้นพื้นฐานของรถยนต์พลังงานใหม่ของจีนที่มีราคาเริ่มต้นประมาณ 100,000 หยวน หรือราว 518,072 บาท
2.ควบคุมต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหัวใจสำคัญของรถ EV คือแบตเตอรี่ ที่ทำหน้าที่เป็นขุมพลังในการจ่ายไฟให้ระบบขับขี่ ซึ่ง แบตเตอรี่ คิดเป็นต้นทุนถึง 40% ของต้นทุนรถ EV ทั้งคัน นั้นแปลว่า หากใครที่สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ ก็จะสามารถเป็นเจ้าตลาดแห่งรถEV ได้ในไม่ช้า
โดยจีนได้สร้างตัวเองขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกด้านการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จากการขยายธุรกิจในต่างประเทศในตลาดวัตถุดิบลิเทียมทั่วโลก
-
ประเทศจีนมีกำลังการผลิตแร่ลิเทียมกว่า 46% จากเหมืองแร่ลิเทียมทั่วโลก
-
ประเทศจีนมีกำลังการผลิตแร่โคบอลต์กว่า 70% จากการถือสัมปทานรายใหญ่ที่เหมืองแร่ในคองโก
-
บริษัท Tianqi Lithium ไดเถือหุ้น 51% ใน Talison Lithium ซึ่งเป็นเจ้าของเหมืองลิเธียม spodumene ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกใน Greenbushes ทางตะวันตกของออสเตรเลีย
-
บริษัท CATL (Contemporary Amperex Technology Co. Ltd.) และ BYD (Build Your Dreams) 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดติดตั้งแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ได้มากกว่า 51%
ทำให้ในปัจจุบัน จีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรี่ มากถึง 558,000,000 kWh โดยที่ปกติแล้ว รถ EV 1 คัน จะใช้ขนาดแบตเตอรี่เฉลี่ยที่ 60 kWh หมายความว่า จีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรี่ สำหรับรองรับรถ EV ได้มากถึง 9.3 ล้านคัน/ปี เลยทีเดียว
3.รัฐบาลจีนหนุนอุตสาหกรรมรถ EV
รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างมาก โดยมีการสร้างแผนเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศตั้งแต่ปี 2552 และให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมนี้กว่า 200 พันล้านหยวน หรือราว 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ผลิตรถในระยะแรก
ระยะแรกรัฐบาลจีนได้มีการสนับสนุนผลักดันรถ EV สาธารณะ หลายล้านคัน เช่นรถเมย์ และรถแท็กซี่ เพื่อให้ยานยนต์ไฟฟ้าได้เริ่มเข้าไปในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย และเมื่อผู้บริโภคเริ่มเห็นความสำคัญและคุณค่าของรถ EV เช่นการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาประหยัด รัฐบาลจีนจีนจึงเริ่มสนับสุนมาตรการการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของคนจีนตามมา
4.พัฒนาเทคโนโลยสุดล้ำ
ประเทศจีน ได้มีการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น วัสดุพื้นฐาน เซลล์โมโนเมอร์ ระบบแบตเตอรี่ และอุปกรณ์การผลิต
ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตรถยนต์ของ SGMW ที่เมืองหลิ่วโจว” เขตฯ กว่างซี ที่ได้มีพัฒนาสายการผลิตแบบ Smart Island เป็นที่แรกของโลก
โดยโรงงานแห่งนี้มีหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 250 ตัว รวมเป็นหนึ่ง “เกาะ” ประยุกต์ใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำด้วยเทคโนโลยี SLAM (Simultaneous Localization and Mapping) ระบบขนถ่าย EMS (Electrified Monorail System) และยานพาหนะ AGV (Automated Guided Vehicle) ขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ระหว่างแต่ละเกาะจนประกอบเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งคันให้เสร็จสิ้น การประกอบรถยนต์ด้วยวิธีดังกล่าวได้บูรณาการเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบส่งสัญญาณ 5G ระบบการตรวจจับ อัจฉริยะ
ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร ทำให้สามารถ ลดตำแหน่งงานในกระบวนการผลิตได้ถึง 40 % และสามารถลดอัตราความผิดพลาดที่เกิดจากการประกอบชิ้นส่วนได้เป็นอย่างดี เช่น ความสมบูรณ์ของการประกอบแชสซีรถยนต์มีประสิทธิภาพสูงถึง 98 % อัตราการประกอบผิดพลาดต่ำเกือบเป็นศูนย์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับกระบวนการผลิตได้ถึง 100%
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ประเทศจีนได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคุณภาพดี เทคโนโลยีขั้นสูง แต่มีราคาย่อมเยาได้ ส่งผลให้รถ EV ที่ผลิตในจีนมีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ผู้ผลิต EV ต่างชาติต้องปรับราคาเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดจีน การเน้นที่นวัตกรรม การประหยัดต้นทุน และการแข่งขันนี้ส่งผลให้ EV ของจีนมีความสามารถในการจ่ายได้อย่างน่าทึ่ง
อ้างอิง : DITP