ตลาดคริปโตถือเป็นอีกตลาดหนึ่งที่นักลงทุนหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีมูลค่าตลาดรวม 1.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมา สำหรัฐได้มีการอนุมัติ Bitcoin spot ETF ในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก ซึ่งนักลงทุนมองว่า ภาพรวมตลาดคริปโตมีโอกาสเติบโตได้สูงและยังเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะ Ethereum และกลุ่ม Liquid staking
สำหรับตลาดในไทยนั้น ล่าสุด กระทรวงการคลังต้องการยกระดับการระดมทุนของประเทศผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล คู่ขนานกับเครื่องมือระดมทุนเดิม เดินหน้าพัฒนาและสนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการระดมทุนในเศรษฐกิจดิจิทัล
รัฐบาลตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Hub) ของภูมิภาค
โดยดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงการคลังต้องการยกระดับการระดมทุนของประเทศผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล คู่ขนานกับเครื่องมือระดมทุนเดิม เดินหน้าพัฒนาและสนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการระดมทุนในเศรษฐกิจดิจิทัล รัฐบาลตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Hub) ของภูมิภาค
โดยกระทรวงการคลังออกมาตรการใหม่ ดังนี้
-
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการโอน (ขาย) สินทรัพย์ดิจิทัล
- คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility token)
ที่ซื้อขายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป “แบบไม่กำหนดเวลาสิ้นสุด”
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment token) ให้ได้รับยกเว้น VAT ตามเดิม
-
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ซื้อขายผ่านทั้ง 3 ช่องทาง ได้แก่
- ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange)
- นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker)
- ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. จากเดิมที่ได้ยกเว้นเฉพาะ Exchange
-
กระทรวงการคลังและ สำนักงาน ก.ล.ต. กำลังอยู่ระหว่างการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งจะมีการกำหนดให้ “โทเคนดิจิทัล” บางลักษณะเป็น “หลักทรัพย์”
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้กำหนดแนวทางในภาพใหญ่ว่ารัฐบาลนี้สนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และการระดมทุนของประเทศ โดยต้องคำนึง “เสถียรภาพ” ของระบบการเงิน แต่ต้องไม่สูญเสีย “ศักยภาพ” การพัฒนา
กรมสรรพากรแจงร่างพรก.ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความเท่าเทียมกันในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกรณีดังต่อไปนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
- การโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ใน Exchange ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- การโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ผ่าน Broker ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- การโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ให้แก่ Dealer ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- การโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) โดย Dealer ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอน Investment Token ทั้งในตลาดแรกและในตลาดรองได้ดำเนินการเป็นการถาวรแล้ว โดยตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 779) พ.ศ.2566 มีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป”