มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออก ไปเมื่อ 21 ก.ค.2566 เพื่อยกระดับมาตรฐานธุรกิจการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้
โดยมาตรการที่จะเร่งบังคับใช้ก่อน คือ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) ที่รวมถึงการดูแลหนี้เรื้อรัง (persistent debt)
รวมถึงอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการดูแลหนี้ครัวเรือนเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การทดสอบโครงการ Sandbox ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (risk-based pricing: RBP) และการกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (debt service ratio: DSR) นั้น
ล่าสุด ธปท. ผนึกกำลังสถาบันการเงินผลักดันการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน
โดยขณะนี้ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนขึ้น จึงเหมาะสมที่จะมีมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างตรงจุดและยั่งยืน ซึ่งธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแล ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
โดยจะเข้าไปดูแลหนี้ครัวเรือน ดังนี้
โดยเกณฑ์ responsible lending จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เว้นแต่ส่วนของการดูแลหนี้เรื้อรังที่จะเริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป
มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ธปท. ได้มีการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เพื่อออกแบบมาตรการที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกหลักการ และครบวงจร เพื่อร่วมกันสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญในการปรับพฤติกรรมของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
อย่างยั่งยืนต่อไป
ธปท. ผนึกกำลังสมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และชมรมสินเชื่อส่วนบุคคลมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ด้วยมุ่งหวังว่ามาตรการนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานธุรกิจการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ ช่วยแก้ปัญหาหนี้เดิม ดูแลหนี้ใหม่ และทำให้หนี้ครัวเรือนไทยลดลงสู่ระดับที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานพร้อมที่จะร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนร่วมกันอย่างบูรณาการต่อไป
การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย ในแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ของสมาคมธนาคารไทย ตั้งแต่ปี 2565 ตั้งแต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทั้งการเสริมสภาพคล่องแก่ลูกหนี้ผ่านมาตรการ Soft Loan และสินเชื่อฟื้นฟู การแก้หนี้เดิมผ่านมาตรการปูพรมในช่วงแรก และมาตรการเฉพาะจุดตามแนวทางการแก้หนี้ระยะยาวและโครงการพักทรัพย์พักหนี้
ตัวเลข ณ สิ้นเดือนเมษายน 2566 มีลูกหนี้ที่ยังอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของธนาคารพาณิชย์ จำนวน 2 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 1.88 ล้านล้านบาท
จากยอดหนี้ที่เคยสูงสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 6.12 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 4.2 ล้านล้านบาท
โดยมีร่วมกิจกรรมช่วยเหลือลูกหนี้อื่น ๆ รวมไปถึงมาตรการต่าง ๆ ที่ธนาคารได้ออกมาเพื่อประคับประคองลูกหนี้กลุ่มเปราะบางของตนเอง แบบตรงจุด ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าว “สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามแนว responsible lending”
โดยการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยด้านความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักการ 5 ข้อ ได้แก่
ฉะนั้น เพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมีประสิทธิภาพ จะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้ทุกกลุ่ม และ
การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบตามความจำเป็นและตามกำลังของลูกหนี้ที่จะสามารถแบกภาระหนี้นั้นได้อย่างโปร่งใส
โดยลูกหนี้ต้องให้ความร่วมมือด้วยการรักษาวินัยทางการเงิน ก่อหนี้เฉพาะที่จำเป็นอย่างมีวัตถุประสงค์ มีการวางแผนที่ดี เข้าใจผลที่ตามมาของการเป็นหนี้ และมีความตั้งใจที่จะจ่ายคืนหนี้ หากทั้งสองฝ่ายร่วมกันเชื่อว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ สนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะมาตรการแก้ปัญหาหนี้เรื้อรังที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อ
ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปลงมาเหลือเพียงไม่เกิน 15% ต่อปี จะช่วยให้ลูกหนี้จ่ายเงินต้นได้มากขึ้น และมีโอกาสสูงขึ้นในการปิดจบหนี้ได้โดยเร็ว เป็นมาตรการที่สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารออมสินในการสร้างแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำและเป็นธรรมที่ได้ดำเนินการอยู่ในช่วงเวลานี้
“ การจะแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องดำเนินการควบคู่กับการสร้างงานสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ และการส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในพันธกิจของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินสมาชิกที่ได้ดำเนินการมาแล้วและต้องดำเนินการต่อไป” นายวิทัย รัตนากร ประธานสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าว
กลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายย่อยที่มีความเปราะบาง เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าและเกษตรกรที่มีรายได้ค่อนข้างน้อยและมีความไม่แน่นอนสูง มีกันชนทางการเงินจำกัด และกลุ่มข้าราชการที่แม้มีรายได้มั่นคงแต่ค่อนข้างน้อย อาจไม่เพียงพอรองรับภาระทางการเงินที่ต้องดูแลครอบครัว
ที่ผ่านมา สมาคมสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินสมาชิกได้มีทั้งการแก้หนี้เดิมและเสริมสภาพคล่องผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิดของธนาคารออมสิน มาตรการขยายระยะเวลาชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของหลาย ๆ สถาบันการเงินของรัฐ ตลอดจนการให้ความรู้ เสริมทักษะทั้งทางการเงินและอาชีพ เพื่อให้ลูกค้ารายย่อยดังกล่าวผ่านช่วงวิกฤตไปได้
“ ลูกค้าส่วนใหญ่ของผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยและเปราะบางกว่าลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ เช่น พนักงานบริษัทหรือพนักงานในโรงงานที่มีเงินเดือนประจำค่อนข้างต่ำ หรือพ่อค้าแม่ค้าขายของที่มีหลักฐานทางการเงินจำกัดและต้องใช้ข้อมูลทางเลือกในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ โดยในช่วงที่ผ่านมา Non-bank ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการ ธปท. อย่างเต็มที่” นายอธิป ศิลป์พจีการ รองประธานชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล กล่าว
ด้วยลักษณะเฉพาะของลูกหนี้กลุ่มนี้ ที่มีความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือนค่อนข้างจำกัด ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทหมุนเวียนเป็นสินเชื่อที่เหมาะกับความต้องการ แต่ด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวของการผ่อนชำระขั้นต่ำที่จำกัด ทำให้ลูกหนี้กลุ่มนี้เป็นหนี้เรื้อรังค่อนข้างสูง ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคลและบริษัทสมาชิก เห็นถึงความจำเป็นและพร้อมนำเสนอทางเลือกเพื่อช่วยเหลือให้ลูกหนี้ที่มีความตั้งใจสามารถปิดจบหนี้ โดยเริ่มจากลูกค้าที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และสนับสนุนให้เกิดการเสริมความรู้พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ดีควบคู่กันไป
ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ออกหลายมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย แต่ด้วยปัญหาทางด้านรายได้ส่งผลต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะปัญหาหนี้เรื้อรังที่แม้จะเป็นสินเชื่อที่มีงวดจ่ายชำระชัดเจน (term loan)
แต่การพักชำระเงินต้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ผลผลิตได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลูกหนี้เกษตรกรจ่ายชำระเฉพาะดอกเบี้ยและไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นเพื่อปิดจบหนี้ได้
โดย ธ.ก.ส. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อแยกแยะกลุ่มหนี้ และจะมีแนวทางดูแลหนี้เกษตรกรที่สอดคล้องกับศักยภาพของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม
โดยจะให้ความสำคัญกับทั้งกลุ่มเกษตรกรที่ยังพอมีศักยภาพ เช่น มีแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ให้ตรงกับศักยภาพครัวเรือนมากขึ้น จูงใจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกษตรกรชำระหนี้ได้มากขึ้นและบ่อยขึ้น สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้เรื้อรังและสูงอายุ ธ.ก.ส. ได้จัดทำ
“โครงการ 'สินเชื่อแทนคุณ' เพื่อจูงใจให้ทายาทมารับภาระหนี้ต่อและเป็นการรักษาทรัพย์สินให้คงอยู่กับครอบครัว และมาตรการลดภาระหนี้และดอกเบี้ยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถปิดจบหนี้ได้” นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าว