ภายในปี 2035 โลกกำลังเผชิญกับปัญหาช่องว่างในตลาดงาน (Jobs Gap) ที่มีความเสี่ยงสูงสุดในประวัติศาสตร์ เมื่อประชากรกว่า 1.2 พันล้านคน เตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่กลับมีตำแหน่งงานเพียง 400 ล้านตำแหน่ง รองรับ ซึ่งอาจทำให้ 800 ล้านคน ตกอยู่ในภาวะว่างงาน ข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยในงาน World Economic Forum 2025 ณ ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภายในปี 2035 โลกกำลังเผชิญกับปัญหาช่องว่างในตลาดงาน (Jobs Gap) ที่มีความเสี่ยงสูงสุดในประวัติศาสตร์ เมื่อประชากรกว่า 1.2 พันล้านคน เตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่กลับมีตำแหน่งงานเพียง 400 ล้านตำแหน่ง รองรับ ซึ่งอาจทำให้ 800 ล้านคน ตกอยู่ในภาวะว่างงาน ข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยในงาน World Economic Forum 2025 ณ ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
Tharman Shanmugaratnam ประธานาธิบดีสิงคโปร์ ได้กล่าวถึงผลกระทบในวงกว้างจาก Jobs Gap ที่ไม่ได้หยุดแค่ในมิติของเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อ เสถียรภาพทางสังคมและการเมือง ความรู้สึกสิ้นหวังของคนที่ไม่มีโอกาสทำงาน ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมเพิ่มขึ้น และอาจก่อให้เกิดความไม่สงบทางสังคม
ข้อมูลเพิ่มเติมจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยตัวเลขที่น่าตกใจ:
Gilbert Fossoun Houngbo ผู้อำนวยการ ILO ระบุว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่จำนวนงานที่ขาดแคลนเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ คุณภาพของงาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตแรงงานในระยะยาว
“การแก้ปัญหา Jobs Gap ต้องไม่ใช่แค่การสร้างงานมากขึ้น แต่ต้องมุ่งไปที่การสร้างงานที่ให้ค่าตอบแทนยุติธรรม มีสวัสดิการที่เพียงพอ และสร้างเสถียรภาพให้แรงงานในทุกระดับ” Gilbert Fossoun Houngbo กล่าว
Veronica Nilsson เลขาธิการคณะกรรมการที่ปรึกษาสหภาพแรงงานต่อ OECD ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันแรงงานกว่า 60% ทั่วโลกอยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบที่ขาดความมั่นคงทางการจ้างงานและสวัสดิการ เช่น การประกันสังคมและเงินบำนาญ หลายคนถูกจัดอยู่ในสถานะ self-employed ทั้งที่จริงแล้วทำงานในลักษณะที่ไม่ต่างจากพนักงานประจำ
นอกจากนี้ งานแบบไม่มั่นคง (Precarious Jobs) เช่น Zero-hour contracts หรือรูปแบบงานที่ไม่มีข้อผูกมัดชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจน กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้แรงงานไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรอง
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ Jobs Gap คือ เทคโนโลยีและ AI โดย Ryan Roslansky CEO ของ LinkedIn เปิดเผยว่า:
อย่างไรก็ตาม Roslansky ย้ำว่า AI ไม่สามารถแทนที่ ทักษะมนุษย์ (Human Skills) ได้ เช่น การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งยังคงมีความสำคัญในตลาดแรงงานอนาคต
หนึ่งในข้อเสนอสำคัญจากงานเสวนาคือ การปรับปรุงระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดงานโลก Tharman Shanmugaratnam เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่กำหนดความพร้อมของบุคคลในอนาคต
เขายังกล่าวเสริมว่า ระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เช่น ของสิงคโปร์ คือระบบที่เน้นการพัฒนาทักษะเชิงเทคนิคควบคู่กับทักษะชีวิต ซึ่งสามารถลดปัญหา ทักษะไม่ตรงกับงาน (Skills Mismatch) ได้
Denis Machuel CEO ของ Adecco Group ชี้ว่า การจัดการกับ Jobs Gap ไม่สามารถทำได้ด้วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล บริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา และแรงงาน
ตัวอย่างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรปที่เปลี่ยนผ่านจากการผลิตรถยนต์เชื้อเพลิงสู่ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยการร่วมมือกับรัฐบาลในการสนับสนุนทรัพยากรสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน และประสานงานกับสถาบันการศึกษาเพื่อออกแบบหลักสูตรที่ตอบโจทย์
การเปลี่ยนผ่านตลาดแรงงานที่เกิดจากเทคโนโลยีและความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงาน อาจนำไปสู่วิกฤตครั้งใหญ่หากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม
แต่ในอีกมุมหนึ่ง Jobs Gap อาจเป็น โอกาส สำหรับประเทศหรือองค์กรที่พร้อมจะลงทุนในทักษะของคนและสร้างระบบงานที่มีคุณภาพ
อ้างอิง: การเสวนาในหัวข้อ Closing the Jobs Gap จากงาน World Economic Forum 2025