ทีม SPOTLIGHT ได้รวบรวมสาระสำคัญจากงานเสวนา “Thairath Forum Soft Power Thailand’s Next Weapon” เวทีเสวนาซอฟต์พาวเวอร์แบบไม่ซอฟต์ ที่สำนักงานใหญ่ไทยรัฐกรุ๊ป เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567
เปิดเวทีเสวนาด้วยการพูดคุยยุทธศาสตร์กับ “แพทองธาร ชินวัตร” รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียช่วยกันดันให้ซอฟต์พาวเวอร์ไทยเกิดขึ้นได้จริง
นิยาม Soft Power ของคุณแพทองธาร ชินวัตร คือ
Soft Power เหมือนเสน่ห์ของผู้หญิง เราจะพรีเซนต์ยังไงที่จะทําให้หนุ่มๆมาหลงรัก เสน่ห์ของประเทศไทยมีอยู่เยอะมากที่คนทั่วโลกต่างหลงรัก เเต่เราต้องทําให้คนเห็นเเล้วชอบ ชอบจนอยากทําตาม
คำว่า Soft Power เป็นคำศัพท์ที่ไม่ได้ใหม่แต่ก็ไม่ได้เก่า เนื่องจากเป็นบริบทที่มีนานแล้ว ที่แต่ละรัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นจริง เเม้ว่าจะเป็นบริบทที่มีนานแล้วที่แต่ละรัฐบาลพยายามผลักดัน เช่น ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ‘โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)’ หรือ ‘กรุงเทพ เมืองแฟชั่น’ ในช่วงสมัยของรัฐบาลไทยรักไทย
Soft Power ไม่มีสูตรสำเร็จ หรือสูตรตายตัว แต่ทางรัฐบาลเข้ามาจัดระบบ ให้มีนโยบายแบบแผนมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็อาศัยนโยบายต่างประเทศที่เข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้ต่างชาติเข้าใจวัฒนธรรมของเรามากขึ้น ซึ่งในตอนนี้ก็มีหลายหน่วยงงานเข้ามาช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ทั้งจากภาครัฐบาลและจากเอกชน
คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก มาเเต่โบราณ ไม่งั้นคงไม่มี ผ้าไทยสวยๆ อาหารไทยอร่อยๆ คําถาม คือ เราจะรักษา ส่งเสริม ส่งต่อ Soft Power ของไทยให้อยู่กับลูก หลานสืบไปได้อย่างไร
หลังจากการสร้างกระแสฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองจากละครแนวโรแมนติกคอมเมดี้อิงประวัติศาสตร์ "บุพเพสันนิวาส" และ "พรหมลิขิต" ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ๆที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น คำพูด’ออเจ้า’ ฮิตติดหู การใส่ชุดไทยถ่ายรูปตามวัด หรือ การปลุกกระแสอาหารไทยให้กลับมาฮิตอีกครั้ง
บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต ได้ถ่ายทอดความงดงามของวัฒนธรรมไทย ทั้งเมนูอาหาร ประวัติศาสตร์ยุคอยุธยา เสื้อผ้าที่เราไม่เคยเห็น อย่าง ‘ผ้าลายอย่าง’ หรือ แม่ไม้มวยไทย ที่ได้สอดแทรกเข้ามาในเรื่อง ผ่านตัวละครที่น่ารัก ซุกซน อย่าง แม่การะเกด และ แม่พุดตาน
ถือเป็นอีกหนึ่งศักยภาพในการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของผู้สร้างละครไทย รวมถึงศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ที่แม้แต่บริษัทต่างชาติยังได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปออนแอร์ที่ต่างประเทศอีกด้วย
Soft Power เหมือน ’ความรัก‘ ที่เราไม่สามารถบังคับกันได้ เราต้องทําตัวให้ สวย เก่ง มีเสน่ห์ ทําตัวให้มีอะไร (ต้องมีจริงๆ) ไม่เอาสวยเเต่รูป เเต่จูบไม่หอม
เวลานึ้คงไม่มีใครไม่รู้จัก คุณปลา-อัจฉรา บุรารักษ์ เจ้าของเครืออาหารยักษ์ใหญ่อย่าง iberry group โดยอาหารจัดว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่แข็งแกร่งที่สุด เพราะอาหารเมืองไทยมีความหลากหลายสูง มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แต่การผลักดันอาหารไปสู่สายตาชาวโลกได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ เช่น การนำอาหารไทยไปโปรโมตผ่านช่องทางโทรทัศน์ ละคร หรือผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องอาศัย ‘คน’ ที่สามารถเป็นกระบอกเสียงที่แข็งแกร่ง เช่น ลิซ่ากินลูกชิ้นปิ้ง
อย่าให้วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เเตะต้องไม่ได้ วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของคน (way of life)เราใช้ชีวิตอย่างไร วัฒนธรรมก็สามารถเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย เราต้องแยก คําว่า ‘มรดก’ เเละ ‘วัฒนธรรม’ ออกจากกัน เพื่อผลักดัน Soft Power ได้อย่างเเท้จริง
โดยคุณเบนซ์ ได้เล่าถึงแนวคิดและความสำเร็จของ Salmon House ผ่านออกมาจากกรอบและบรรทัดฐานเดิมๆ กล้าตั้งคำถามในสั่งคมเพื่อรังสรรค์ผลงานที่ครีเอทีฟ
นอกจากนี้ ไทยรัฐกรุ๊ป” ได้มีการจัดทำ “ไทยรัฐโพล” สำรวจความเห็นคนอ่านที่มีต่อนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ระหว่างวันที่ 15-22 มกราคม 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 1,595 ราย
คำตอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ อาหาร, การท่องเที่ยว, มวยไทย และมีคำตอบอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น คำตอบในกลุ่มศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ซีรีส์วาย, เพลงลูกทุ่ง, หมอลำ, ลิเก และโขน ส่วนคำตอบในหมวดอาหาร ก็เช่น สตรีตฟู้ด, ข้าวหลาม, ข้าวเหนียวมะม่วง และทุเรียนทอด นอกจากนี้ ยังมีคำตอบเกี่ยวกับการสักยันต์, กิจกรรมสายมู และกางเกงลายช้างด้วย