Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สภาพัฒน์ ห่วงสังคม Influencer ในไทยมี 2 ล้านคน หวั่นสร้างค่านิยมผิดให้สังคม
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

สภาพัฒน์ ห่วงสังคม Influencer ในไทยมี 2 ล้านคน หวั่นสร้างค่านิยมผิดให้สังคม

4 มี.ค. 67
16:48 น.
|
1.5K
แชร์

lifestyle-content-creators-co_1ใครๆก็อยากเป็น Influencer

Influencer หนึ่งในอาชีพที่มาแรงแซงโค้งในช่วงปีที่ผ่านมาจนกลายเป็นหนึ่งในอาชีพในฝันของใครหลายๆคน  นอกจากเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักแล้ว ยังทรงอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนในสังคมได้อีกด้วย  

และในโลกของ Social Media ปัจจุบัน ทุกคนสามารถสร้าง Content เพื่อให้ตัวเองมีตัวตนบนโลก Social  Media ได้ทั้งสิ้น และหลายครั้งก็พบว่า Influencer ไม้ได้มีอิทธิพลแต่ในสิ่งที่ดี ถูกต้องเสมอไป แต่กลับกลายเป็นการสร้างค่านิยมผิดในสังคมแบบแนบเนียน ประชาชนในฐานะผู้บริโภคอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

ล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) หรือ สภาพัฒน์ ได้มีข้อกังวลใจจากสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ โดยเฉพาะ เรื่องบทบาท Influencer ในสังคไทย ผ่านการรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/66 และภาพรวมปี 66 ดังนี้

female-video-blogger-streamin

Influencer ไทยมีมากอันดับ 2 ในอาเซียน

ข้อมูลจาก Nielsen ในปี 65 พบว่า ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีจำนวน Influencer รวมกันมากถึง 13.5 ล้านคน โดยประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจาก อินโดนีเซีย

ซึ่งการขยายตัวของ Influencer ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นช่องทางสร้างรายได้ ทั้งจากการโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า โดยในปี 66 สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับทั่วโลกถึง 19.01 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 140.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 73 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 7.4 เท่า ภายใน 7 ปี

สำหรับประเทศไทย Influencer ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ได้ค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้ตั้งแต่ 800 - 700,000 บาทขึ้นไปต่อโพสต์

ส่งผลให้เกิดการแข่งขันผลิต Content และการให้ความสำคัญกับ Engagement โดย Influencer มักมีการสร้าง Content ให้เป็นกระแสโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมก่อนเผยแพร่ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมหลายประการ อาทิการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง

stylish-french-girl-with-tatt

เสนอข่าวปลอม – โปรโมทเว็บพนัน – สร้างคอนเทนต์อวดรวย

จากรายงานผลการดำเนินงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 66 ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า

มีจำนวนยอดสะสมผู้โพสต์ที่เข้าข่าย เป็นข่าวปลอม 7,394 บัญชี โดยเป็นจำนวนข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนรวมกันกว่า 5,061 เรื่อง การชักจูงหรือ ชวนเชื่อที่ผิดกฎหมาย เช่น การโฆษณาเว็บพนันออนไลน์ผ่าน Influencer

ข้อมูลจากผลการสำรวจพฤติกรรม การเล่นพนันออนไลน์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ของศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ในปี 66 พบว่า คนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์ ประมาณ 3 ล้านคน โดย 1 ใน 4 เป็นนักพนันฯหน้าใหม่ หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 7.4 แสนคน โดย 87.7 % พบเห็นการโฆษณาหรือได้รับการชักชวนทางออนไลน์ ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 1 ล้านคน

  • เสนอข่าวตื่นเต้น แต่ไม่คำนึงถึงจริยธรรม

การละเมิดสิทธิ พบว่า Influencer บางรายมีการเสนอข่าวอาชญากรรมราวกับละคร เพื่อสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ และไม่ได้ คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เสียหาย ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด

  • ขโมย content คนอื่น

การทำข่าวโดยใช้ภาพผู้คนหรือ วิดีโอของผู้อื่นมาตัดต่อลง Content ของตน โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา

  • สร้างคอนเทนต์อวดรวย

เนื้อหาบางประเภทที่ไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย แต่อาจนำไปสู่การสร้างค่านิยมที่ผิดต่อสังคม เช่น ‘การสร้างคอนเทนต์อวดรวย’  เช่น อวดสินค้าแบรนด์เนม การบริการสุดหรูที่สุดแสนประทับใจ และไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันสุดแสนลัคชูรี่

โดยจากการศึกษาของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กลุ่ม Gen Z กว่า74.8% เป็นผู้ที่ชอบแสดงตัวตนในรูปแบบนี้มากที่สุด หรือการนำเสนอภาพบุคคลที่ได้รับการปรับแต่งให้ดูดี จนกลายเป็น มาตรฐานความงามที่ไม่แท้จริง ซึ่งอาจสร้างค่านิยมที่ผิดให้กับเด็กและเยาวชนในสังคม และอาจกระทบต่อ การก่อหนี้เพิ่มขึ้น  

429769510_732117262401406_431_1

ตัวอย่างประเทศออกกฎหมายควบคุม Influencer

ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลเชิงลบของ Influencer ต่อสังคมหลายแง่มุม ซึ่งในต่างประเทศ เริ่มมีการออกกฎหมายเฉพาะ Influencer อย่างชัดเจน เช่น

สาธารณรัฐประชาชนจีน ออกระเบียบห้ามเผยแพร่ เนื้อหาในลักษณะอวดความร่ ารวย และการใช้ชีวิตแบบกินหรูอยู่สบายเกินจริง

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำหนดให้ Influencer ต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาสื่อแห่งชาติ (NMC) เพื่อป้องกันการโฆษณาที่ ผิดกฎหมาย

นอร์เวย์และสหราชอาณาจักร กำหนดให้ Influencer แจ้งรายละเอียดภาพบุคคลที่ใช้สำหรับ การขายและโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย พร้อมแสดงเครื่องหมายกำกับ เพื่อลดปัญหาความกดดันทางสังคมต่อ มาตรฐานความงามที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน

ประเทศไทย ยังไร้กฎหมายควบคุม Influencer

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุม กำกับดูแลการนำเสนอข้อมูลอยู่บ้าง  เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวมทั้ง อยู่ระหว่างพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ที่มีความพยายามปรับปรุงการกำกับดูแลการนำเสนอข้อมูลให้เท่าทันสื่อปัจจุบัน แต่ยังไม่มีกฎระเบียบ สำหรับกลุ่ม Influencer อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ แนวทางการกำกับดูแลส่วนใหญ่เน้นไปที่การตรวจสอบ เฝ้าระวัง การนำเสนอ และการตักเตือน/แก้ไข ซึ่งหากไทยจะขยายการกำกับดูแลให้ครอบคลุมกลุ่ม Influencer อาจต้อง ทบทวนการกำหนดนิยามของสื่อออนไลน์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับ การผลิตเนื้อหาของสื่อกลุ่มต่าง ๆ โดยอาจศึกษาจากกรณีตัวอย่างของกฎหมายและมาตรการของต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมต่อไป

screenshot2024-03-04165140

นอกจากนี้ สภาพัฒน์ ยังเปิดเผยภาวะสังคมไทยอื่นๆที่น่าจับตามอง เช่น

  • การจ้างงานปรับตัวดีขึ้นมากกว่าช่วงโควิด อัตราการว่างงานลดลง

 : อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ 0.81% หรือมีผู้ว่างงาน 3.3 แสนคน โดยลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งโดยภาพรวมปี 66 อัตราการมีงานทำอยู่ที่ 98.68% เพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยผู้มีงานทำ มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 1.8% ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการจ้างงาน ทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและสาขาก่อสร้าง ขณะที่อัตราการว่างงานโดยรวม ปี 66 อยู่ที่ 0.98% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับปี 62

  • หนี้ครัวเรือน Q3/2566 เริ่มชะลอ ต้องจับตาสัญญาณ NPL

เลขาธิการสภาพัฒน์ ได้เปิดเผยในไตรมาส 3/66 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่ารวม 16.2 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 90.9% ทรงตัวจากไตรมาส 2/66 โดยครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล

ด้านคุณภาพสินเชื่อด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อ โดย NPL มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมเป็น 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 2.71% ในไตรมาสก่อน

  • การบริโภคฟื้นตัวจาก นักดื่ม-นักสูบ

สำหรับภาพรวมปี 66 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการฟื้นตัวของการบริโภค และการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยแบ่งเป็นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 4.9% และการบริโภคบุหรี่ลดลง 0.7%

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ที่อาจดึงดูดให้มีการเปิดสถานบันเทิงเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้นักดื่มมีโอกาสเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และการสูบบุหรี่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันและเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้

ที่มา สภาพัฒน์

 

แชร์

สภาพัฒน์ ห่วงสังคม Influencer ในไทยมี 2 ล้านคน หวั่นสร้างค่านิยมผิดให้สังคม