มาตรการ Easy e-Receipt คือ มาตรการลดหย่อนภาษีของรัฐบาลที่ออกมา เพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ และช่วยลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างออกไป ถือว่าเป็นมาตรการที่มาช่วยชดเชยกับผู้ที่ที่เข้ามาให้กับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้เกิน 70,000 บาทขึ้นไป ที่ไม่ได้เงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล
โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตการ Easy e-Receipt หรือมาตรการ e-Refund เดิม โดยมาตรการ Easy e-Receipt คืออะไร ซื้ออะไรได้บ้าง อะไรที่ซื้อไม่ได้ เงื่อนไขเป็นอย่างไร วันนี้ SPOTLIGHT รวบรวมมาให้แล้ว
Easy e-Receipt คืออะไร?
มาตรการ Easy E-Receipt (e-Refund เดิม) คือ โครงการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท
มีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนการบริโภคในประเทศ สนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นและการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี และการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
เงื่อนไขมาตรการ Easy E-Receipt
- ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักรไทย กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
- ต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร (กรณีซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- (กรณีซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) สามารถซื้อสินค้าหรือบริการกับร้านค้าผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เฉพาะ 3 ประเภทดังนี้ 1.ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร 2.ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ 3.ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
เว้นแต่ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้ จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้
- ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังกล่าวจากผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องได้รับใบรับในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
สินค้าที่ไม่ร่วม Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีไม่ได้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
- ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ก็ตาม
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ซื้อครบ 50,000 บาท ได้เงินคืนกี่บาท
โดยการคืนเงินลดหหย่อนภาษีจะขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่แต่ละบุคคลจ่าย
เงินได้สุทธิ (บาท)
|
อัตราภาษี
|
ซื้อ 50,000 ได้คืน (บาท)
|
ซื้อ 10,000 ได้คืน (บาท)
|
0-150,000
|
ยกเว้นภาษี
|
0
|
0
|
150,000-300,000
|
5%
|
2,500
|
500
|
300,001-500,000
|
10%
|
5,000
|
1,000
|
500,001-750,000
|
15%
|
7,500
|
1,500
|
750,001-1,000,000
|
20%
|
10,000
|
2,000
|
1,000,001-2,000,000
|
25%
|
12,500
|
2,500
|
2,000,001-5,000,000
|
30%
|
15,000
|
3,000
|
มากกว่า 5,000,000
|
35%
|
17,500
|
3,500
|