ไม่นานมานี้คุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ได้ออกมาประกาศว่าจะลดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยลงจากปัจจุบัน 4.15 บาท ลงมาเหลือ 3.70 บาท ฟังดูเป็นข่าวดีของประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็ทุบหุ้นโรงไฟฟ้ากอดคอกันร่วงยกแผงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
SPOTLIGHT พามาดูกันว่า 6 หุ้นโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในไทยมีธุรกิจแบบไหน ? แล้วสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ?
1.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF มีมูลค่าบริษัทมากที่สุดในกลุ่มอยู่ที่ 660,000 ล้านบาท
รูปแบบธุรกิจของ GULF
ไม่ได้มีแค่ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายมือถือ, ดาวเทียม, รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ อื่น ๆ
ผลประกอบการปี 2566
มีรายได้ 116,950 ล้านบาท กำไร 14,860 ล้านบาท
อัตรากำไรคิดเป็น 12.7%
อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 35.9 เท่า
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงจากต้นปี ลดลง 2.6 %
2.บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC มีมูลค่าบริษัท อยู่ที่ 96,580 ล้านบาท
รูปแบบธุรกิจของ
ผลิตไฟฟ้า, ไอน้ำ, น้ำสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม และ อื่น ๆ
ผลประกอบการปี 2566
มีรายได้ 92,300 ล้านบาท กำไร 3,690 ล้านบาท
อัตรากำไรคิดเป็น 4.0%
อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 28.5 เท่า
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงจากต้นปี ลดลง 8.6%
3.บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH มีมูลค่าบริษัท อยู่ที่ 62,530 ล้านบาท
รูปแบบธุรกิจ
ผลิตไฟฟ้า, สาธารณูปโภค อย่างเช่น น้ำประปา และ อื่น ๆ
ผลประกอบการปี 2566
มีรายได้ 46,830 ล้านบาท กำไร 5,170 ล้านบาท
อัตรากำไรคิดเป็น 11%
อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 10.8 เท่า
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงจากต้นปี ลดลง 3.4%
4.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO มีมูลค่าบริษัท อยู่ที่ 59,490 ล้านบาท
รูปแบบธุรกิจ
ผลิตไฟฟ้า, ให้บริการด้านพลังงาน อย่างเช่น ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า และ อื่น ๆ
ผลประกอบการปี 2566 มีรายได้ 53,280 ล้านบาท ขาดทุน 8,380 ล้านบาท
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงจากต้นปี ลดลง 0.9%
5.บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM มีมูลค่าบริษัท อยู่ที่ 45,620 ล้านบาท
รูปแบบธุรกิจ
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และ ขยะ
ผลประกอบการปี 2566
มีรายได้ 58,230 ล้านบาท กำไร 1,880 ล้านบาท
อัตรากำไรคิดเป็น 3.2%
อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 97.7 เท่า
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงจากต้นปี ลดลง 8.3%
6.บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP มีมูลค่าบริษัท อยู่ที่ 30,780 ล้านบาท
รูปแบบธุรกิจของ ผลิตไฟฟ้า
ผลประกอบการปี 2566 มีรายได้ 31,150 ล้านบาท กำไร 5,320 ล้านบาท
อัตรากำไรคิดเป็น 17.1%
อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 12.1 เท่า
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงจากต้นปี ลดลง 7.3%
สาเหตุเพราะโครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นรูปแบบ Enhanced Single Buyer Model (ESB) นั่นคือ กฟผ.หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ส่งไฟฟ้า และเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งหลาย โดยมีตัวอย่างก็คือบริษัทอย่าง GULF และ GPSC
ซึ่งหลัก ๆ แล้วการรับซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ
แบบแรก โรงไฟฟ้ารูปแบบ IPP (Independent Power Producer : IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ หรือ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่
แบบที่สอง SPP (Small Power Producer) คือ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก มีกำลังผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ มากกว่า 10 เมกะวัตต์ แต่ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์
และแบบที่สาม รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ
ในขณะที่ กฟน. และ กฟภ. ที่มีหน้าที่เป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้าต่อจาก กฟผ. จะรับซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก หรือ VSPP ( Very Small Power Producer ) โดยมีปริมาณพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน 1 MW
จะเห็นได้ว่า รายได้ของผู้ผลิตไฟฟ้าจะมาจากการขายไฟให้กับ กฟผ. ในขณะที่ราคาก็จะถูกกำหนดโดยนโยบายของรัฐ ดังนั้นหากค่าไฟ หรือ ค่าเอฟทีถูกลงก็จะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของผู้ผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจด้วยว่า มีความหลากหลายหรือพึ่งพิงรายได้จากการขายไฟในประเทศมากน้อยแค่ไหน