บทความนี้ ทีม SPOTLIGHT ได้สรุปการเสวนา แอบฟัง CEO คุยกัน: เคล็ดลับบริหารงานของ CEO ที่ไม่เคยบอกใคร โดย คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน CEO, AP Thailand และคุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO, Srichand & Mission To The Moon Media จากงาน Creative Talk Conference 2024
: ผู้นำต้องลงไปทำเอง บทบาทจะวางไว้หลวม ๆ คนนึงต้องทำได้หลายอย่าง
: CEO ต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารและแนวคิด โดยต้องคิดแบบ Process (กระบวนการ) + Structure (โครงสร้าง) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การหาคน ที่เหมาะสมกับตำแหน่งและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
: นอกจากแนวคิด และแนวการบริหารที่มีแบบแผน เมื่อบริษัทเติบโตเป็นองค์กรขนาดใหญ่ขึ้น CEO ต้องสร้าง Culture ขององค์กร เพื่อให้พนักงานมีแนวคิดแบบเดี่ยวกันตามเป้าหมายของผู้นำ โดยCEO จะเป็นคนตัดสินเรื่องใหญ่ๆ
เช่นเดียวกับ ในวันที่องค์กรใหญ่ขึ้น คุณอนุพงษ์เองไม่สามารถรู้จักพนักงานได้ทุกคน ผู้นำจะมีหน้าที่กำหนด 2S2P แทน คือ Process, People, Structure และ System (Monitoring)
ฟุตบอล ก็คือ กีฬาที่ที่ใช้ผู้เล่นจำนวนมาก ทั้งผู้เล่นทั้งกองหน้า กองกลาง กองหลัง ผู้รักษาประตู อีกทั้ง ยังมีผู้เล่นตัวสำรองต่างๆ เช่นเดียวกันกับ แฟนบอล (ที่ทำหน้าที่เหมือนผู้บริโภค ลูกค้า) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับฟุตบอลนอกเหนือจากนักกีฬา คือ โค้ช เพราะโค้ช จะเป็นผู้ที่มองเกมส์ให้ขาด เตรียมวางแผน ออกแบบกลยุทธ์ทั้งแผน A B C D เพื่อก้าวสู่ชัยชนะ
และแน่นอนว่าหน้าที่ CEO เปรียบเสมือนโค้ช ที่คอยไกด์พนักงานอยู่ข้างสนาม ตั้งแผนรุก-แผนรับที่ชัดเจน ภายใต้การเข้าใจกติการ่วมกัน (แนวคิดการทำงาน – วิธีการทำงาน) ซึ่งหากเวลาต้องลงสนามจริง ก็จะปล่อยให้แต่ละคนแสดงความสามารถ แต่หากต้องการความช่วยเหลือก็ให้ส่งสัญญาณมาที่โค้ด เพราะหน้าที่ของ CEO คือ ต้องพร้อม Stand by รอช่วยเหลือในยามวิกฤต
เนื่องจาก AP Thailand ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เลยยึดหัวใจอยู่ที่ผู้บริโภคเป็นส่วนหลัก ทำให้การตัดสินใจไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CEO เพียงคนเดียว แต่คุณอนุพงษ์ให้สิทธิการตัดสินใจอยู่ที่คนที่ใกล้ลูกค้ามากที่สุด รวมถึงคนที่อยู่หน้างานด้วย
คุณอนุพงษ์ให้ อิสระให้ทางความคิดให้แก่พนักงานของ AP Thailand ทุกคน แต่หากเกิดสิ่งผิดพลาดคุณต้องกล้าที่จะยอมรับมัน “ถ้าสิ่งที่ทำสำเร็จ คุณจะได้รับสิ่งนั้น แต่ถ้ามันผิดพลาด คุณก็ต้องรับผิดเช่นกัน” แต่ CEO จะเป็นคนที่คอยกำหนดขอบเขตเอาไว้
Work Smart ไม่ใช่ Work hard องค์กรที่ประความสำเร็จต้องวัดจาก ผลลัพธ์ หรือ KPI เพราะความพยายาม มันไม่สามารถวัดผลๆ ได้
หน้าที่ของ CEO คือ คนที่ต้องตัดสินใจ ในวันที่ทีมอาจจะยังไม่มีข้อมูลที่มากพอ หรือยังไม่มีความชัดเจน
ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ คือ ธุรกิจที่เดินตามแบบแผนที่ชัดเจน และไม่ปล่อยให้น้ำหนักการตัดสินใจอยู่ที่ตัว CEO คนเดียว เพราะหากถ้า Bias ในการตัดสินใจ ก็จะทำให้แผนพัง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทดลองทำ เช่น Prototype แล้วเราจะรู้ว่าตลาดชอบหรือไม่ชอบ เพราะลูกค้าเป็นคนบอก
คุณรวิศ ได้เผยว่า การดูแลร่างกายนั้นสำคัญ แต่การดูแลจิตใจนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน คุณรวิศ ได้ข้อคิดนี้ เมื่อคนในที่ประชุมพูดว่า ‘ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับการควบคุมอารมณ์ของ CEO มากกว่าการบริหารงาน’ ทำให้คุณรวิศ ได้มาตกตะกอนความคิด ว่า การรู้เท่าทันอารมณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคำพูดของผู้บริหาร (หากอยู่ในอารมณ์โมโห) พูดเสร็จแล้วก็ลืมไป แต่จงอย่าลืมว่าผู้ฟังนั้นไม่เคยลืม ทำให้ การบริหารจิตใจและความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลให้ดีและไม่ไปทำร้ายจิตใจคนอื่น
คุณรวิศ ได้เผย เทคนิคสุขภาพใจที่ดี คือ การดูแลสุขภาพกาย เนื่องจาก การ Burnout มาจากนร่างกายที่ไม่พร้อม นอนไม่พอ พักผ่อนไม่พอ และถ้าเรานอนพอ IQ ก็จะดี EQ ก็จะดี
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งสุขภาพกาย เป็นมันไม่สามารถย้อนกลับไปสร้างได้ แต่ในด้านจิดใจ เราต้องเป็นคนสร้างมัน
ต้องเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งหนึ่งได้นานๆ หากไม่ได้รู้สึกสนุก เพลินเพลิดไปกับมัน เพราะฉะนั้น เราหางานที่ทำให้เราสนุก อยากตื่นไปทำงาน จริงอยู่ว่างานจะต้องมีเรื่องเครียดเข้ามาบ้าง แต่เราต้องมองเป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้เราพัฒนา และเก่งขึ้น
4.AI มาแล้ว CEO รับมืออย่างไร?
ทั้งคุณอนุพงษ์ และ คุณรวิศ ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเข้ามาของ AI ทำให้เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ? เราจะใช้งาน AI อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด? AI ต้องเข้ามาเป็น co-pilot ไม่ใช่ auto-pilot ในชีวิตเรา