ในเวลาที่โลกกำลังประสบกับปีที่ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ ภูมิภาคเอเชียถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูง ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ความสามารถในการผลิต และแหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งล้วนแต่เป็นแต้มต่อให้กับภูมิภาคในการพัฒนาทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ ควรหันมาร่วมมือกันและสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือที่เอื้อต่อผลประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการแข่งขันกันในภูมิภาค ผ่าน 6 ข้อคิดสู่การเป็น 'อาเซ๊ยนสีเขียว'
ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ สภาพอากาศที่ย่ำแย่ ท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยหมอกควันจากมลพิษ PM2.5 การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากทั่วทุกมุมโลกดูรุนแรง และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้ทุกคน
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นแล้ว น่ากลัวมาก และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น หรือนี่คือสัญญาณชัดว่า เราก้าวสู่ยุคโลกเดือด หรือ Global Boiling แล้ว” António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ
ประเด็นสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ และเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรามากขึ้น เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเมืองหลวง แต่ทว่าประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของภาคประชาชนที่ต้องจัดการเพียงฝ่ายเดียว แต่ภาครัฐบาลเองก็ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน รวมถึง ภูมิภาคอาเซียนที่ต้องร่วมมือกันขจัดปัญหา และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในภูมิภาค
SPOTLIGHT ได้รวบรวมสาระสำคัญ จากการบรรยาย แนวทางการพัฒนา ‘อาเซียนสีเขียว’ ในอนาคต ของศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ แซคส์ ประธานเครือข่าย United Nations Sustainable Development Solutions Network (SDSN) จากงาน Sustainability Talks: Towards a Green ASEAN เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
: ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาองค์กรไปจนถึงการพัฒนาประเทศและโลกใบนี้ เรียกได้ว่า มนุษย์เป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อน และกำหนดทิศทางของประเทศ ในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพขึ้นมาในสังคมได้นั้น ปัจจัยสำคัญก็คือ การศึกษา
: การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและสมบูรณ์เป็นพื้นฐานสำคัญของมนุษย์ เช่นเดียวกับการเข้าถึงระบบสุขภาพที่พร้อมเพรียง ทั้ง 3 ด้าน
หากประเทศไหนสามารถพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ก็จะสร้างภาวะอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน เนื่องจากมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ
ทั้งนี้ หากประชาชนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงก็จะทำให้ประชาชนสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่
: ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าโลกเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญในแง่ของการใช้พลังงานที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ที่นำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เห็นกันทุกวันนี้
สำหรับแนวทางการดูแลรักษาโลกและแก้ไขวิกฤตการณ์นั้น ก็คือ การเปลี่ยนแปลงก้าวสู่การใช้พลังงานสะอาด ด้วยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ Net Zero Emission ของหลายภาคส่วน
โดยบนเวทีการประชุม COP27 อาเซียนมีความมุ่งมั้นก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 26 ปีข้างหน้า และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 หรืออีก 41 ปี ข้างหน้า
: ในวันที่จำนวนประชากรโลกมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความต้องการด้านอาหารของมนุษย์ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ระบบการเกษตรอุตสาหกรรม มีการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ และการใช้สารเคมีจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์เรา
แต่การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดการปนเปื้อนมลพิษที่อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ทำให้แนวโน้มการทำเกษตรในหลายทศวรรษที่ผ่านมานี้ จึงมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการผลิตอาหารทางเลือกที่มีความยั่งยืนมากขึ้น และยังจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในระยะยาวได้ สู่การทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน สร้างความสมดุลทั้ง 3 มิติ
: โครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน เช่น
และเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปในจทุกจุด ทุกชุมชนในประเทศ จะทำให้เกิดการพัฒนาและบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นวงกว้าง และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้
: ในวันที่โลกเราก้าวสู่ความเจริญด้านเทคโนโลยี ชีวิตของเราก็ปรับเปลี่ยนไปอย่างสะดวกสบายและรวดเร็วในทุกๆวัน ในส่วนของภาครัฐในหลากหลายประเทศ เริ่มก้าวเข้าสู่การพัฒนาสังคมดิจิทัลมากขึ้น เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นๆเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ แซคส์ ยังกล่าวเสริมด้วยว่า ภูมิภาคเอเชียถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูง ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ความสามารถในการผลิต และแหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งล้วนแต่เป็นแต้มต่อให้กับภูมิภาคในการพัฒนาทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือกันและสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือที่เอื้อต่อผลประโยชน์ร่วมกัน มากกว่าการแข่งขันกันในภูมิภาค
โดยไทยเองก็สามารถใช้ประโยชน์จากการร่วมมือกันระหว่างอาเซียน หรืออาจขยายวางกว้างสู่กลุ่มประเทศ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) อีกด้วย