Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
บิ๊กเทคฯ พึ่ง ‘โรงไฟฟ้าเก่า’ ขยายโครงสร้างพื้นฐาน AI และดาต้าเซ็นเตอร์
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

บิ๊กเทคฯ พึ่ง ‘โรงไฟฟ้าเก่า’ ขยายโครงสร้างพื้นฐาน AI และดาต้าเซ็นเตอร์

9 ก.ย. 67
14:17 น.
|
583
แชร์

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตของ AI ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ความต้องการของดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มขึ้นสูงทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2023 มีดาต้าเซ็นเตอร์ประมาณ 8,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา และคาดว่า อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตเร็วขึ้นปีละ 10% ภายในปี 2030 ตามรายงานของ McKinsey

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ กำลังกระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ และซัพพลายเออร์ของพวกเขา เริ่มพิจารณา มองหา และนำสถานที่อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เช่น โรงไฟฟ้าเก่า มาปรับใช้เป็น ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ เพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูลที่มากขึ้น

การนำโรงไฟฟ้าเก่ามาใช้ใหม่

บิ๊กเทคฯ อย่าง Microsoft, Google, และ Amazon ต่างทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนการประมวลผลแบบคลาวด์ และบริการ AI แม้ตอนนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายในการค้นหาสถานที่ที่มีพลังงานเพียงพอ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Adam Cookson หัวหน้าฝ่ายธุรกรรมที่ดินสำหรับกลุ่มที่ปรึกษาด้านดาต้าเซ็นเตอร์ Emea ของ Cushman & Wakefield กล่าวว่า ‘ความพร้อมของที่ดิน’ และ ‘พลังงาน’ กลายเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก ส่งผลให้ความสนใจในตลาดขนาดเล็ก และไซต์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างโรงไฟฟ้าที่มีสภาพเก่า

ส่วน Daniel Thorpe หัวหน้าฝ่ายวิจัยศูนย์ข้อมูลของ JLL กล่าวว่า นักพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ กำลังมุ่งเป้าไปที่สถานที่โครงสร้างพื้นฐาน อย่าง ‘สถานีไฟฟ้าเก่า’ เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ มีความน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ดำเนินการโดยผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งรายใหญ่อย่าง Microsoft, Amazon, และ Google

ถึงแม้โรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังถูกปิดตัวลงในบางส่วนของสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่โรงไฟฟ้าเหล่านี้ อาจมีคุณลักษณะที่โครงการดาต้าเซ็นเตอร์ต้องการ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ไซต์อุตสาหกรรมจะได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้พลังงานสูง และอาจมีโครงสร้างพื้นฐานในการส่งไฟฟ้า และตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

โดย Microsoft เอง ก็มีแผนที่จะพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์บนพื้นที่ของโรงไฟฟ้า Eggborough และ Skelton Grange เก่า ใกล้กับเมืองลีดส์ ทางตอนเหนือของอังกฤษ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2027 ส่วนในเวลาเดียวกัน Amazon กำลังวางแผนสร้างวิทยาเขตบนพื้นที่ของโรงไฟฟ้า Birchwood เก่าในรัฐเวอร์จิเนียของสหรัฐอเมริกาด้วย

ในขณะเดียวกัน การค้นหาพื้นที่เพื่อขยายดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การนำโรงไฟฟ้าเก่ามาใช้งานใหม่เท่านั้น เพราะ Microsoft ยังพิจารณาการหลอมรวม ‘อะตอม’ เป็นแหล่งพลังงานใหม่เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน AI ที่กำลังเติบโตภายในปี 2028

มาตรการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ยั่งยืน

เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์เป็นหนึ่งในผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ โดยเฉพาะดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลเลอร์ ที่ใช้พลังงานสูงมาก เทียบเท่าการใช้ไฟฟ้าของ 80,000 ครัวเรือนรวมกัน ทำให้แรงกดดันในการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แบบยั่งยืนจึงสูงขึ้นมาก

โดยหน่วยงานกำกับดูแล และรัฐบาลบางแห่ง กำลังกำหนดมาตรฐานความยั่งยืนให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้ ทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสช่วยดาต้าเซ็นเตอร์รักษาแหล่งพลังงานปลอดคาร์บอนได้

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้ออกมาเตือนว่า ข้อจำกัดด้านความพร้อมของไฟฟ้า อาจคุกคามการขยายตัวของ AI รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ เช่น การเชื่อมต่อไฟเบอร์ที่เพียงพอ ทำให้พื้นที่ที่อาจใช้เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ ลดน้อยลงไปอีก

นักวิเคราะห์ กล่าวว่า สิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดความสนใจในตัวเลือกที่แตกต่างจากเดิม ข้อกำหนดที่แตกต่างกันของเวิร์กโหลด AI เปิดโอกาสให้มีการจัดวางดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ศูนย์กลางน้อยลง ห่างจากศูนย์กลางการประมวลผลหลัก เนื่องจาก ‘ความหน่วง’ หรือเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล และรับการตอบกลับ มีความสำคัญน้อยกว่าสำหรับการฝึกโมเดล AI

อย่างเช่น Virtus Data Centres ได้เข้าซื้อพื้นที่สองแห่งในกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี ซึ่งส่วนหนึ่งเคยเป็นฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์มาก่อน รวมถึงโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยสงครามในสหราชอาณาจักร โดยบริษัทมีแผนที่จะแปลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ในปี 2026

นอกจากนี้ แนวโน้มนี้ ยังสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมการขุดบิตคอยน์ที่ใช้พลังงานมากเช่นกัน ซึ่งมุ่งหวังที่จะปรับเปลี่ยนสถานที่อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว รวมถึงโรงถลุงอลูมิเนียมเก่า

ความท้าทาย และอนาคตของดาต้าเซ็นเตอร์

อย่างไรก็ตาม บางคนก็ออกมาเตือนว่า การเปลี่ยนแปลงสถานที่ดังกล่าว อาจเป็นกระบวนการที่ยาวนาน มีค่าใช้จ่ายสูง และมีความซับซ้อน ซึ่งอาจไม่สามารถทำได้จริงเสมอไป หากโรงไฟฟ้าถูกตัดการเชื่อมต่อจากสายส่งไฟฟ้า และไม่ได้รวมอยู่ในคำนึงของผู้ประกอบการในพื้นที่

Mark Dyson กรรมการผู้จัดการโครงการไฟฟ้าปลอดคาร์บอน Rocky Mountain Institute กล่าวว่า หากตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างโรงงานไฟฟ้าเป็นแบบประหยัดพลังงานแล้ว การเปลี่ยนกลับมาสาแบบดั้งเดิมไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีความซับซ้อนด้านเทคนิค และโลจิสติกส์ที่ต้องคำนึกุถึง

ส่วน Thorpe จากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ JLL มองว่า ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับข้อมูลจำเพาะของสถานที่ ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ในการปรับรูปแบบโครงสร้างและการใช้งานใหม่ รวมทั้งจำนวน และราคาของที่ดินที่มีอยู่

ในขณะที่งานวิจัยของ RMI แนะนำว่า โรงงานพลังงานหมุนเวียนควรตั้งอยู่ข้างๆ การผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่ และส่งต่อไปยังโครงข่ายไฟฟ้า ผ่านการเชื่อมต่อที่มีอยู่ของโรงงานเมื่อคุ้มค่ากว่า เนื่องจากตามทฤษฎีแล้ว การผลิตไฟฟ้าส่วนเกินใดๆ สามารถนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้กับ on-site facility เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ได้

ที่มา Financial Times, Techopedia, McKinsey

แชร์

บิ๊กเทคฯ พึ่ง ‘โรงไฟฟ้าเก่า’ ขยายโครงสร้างพื้นฐาน AI และดาต้าเซ็นเตอร์