เปิดคำสั่งโครงสร้าง คอส.-ศปช. แก้ปัญหาน้ำท่วม-วาตภัย-ดินโคลนถล่ม

16 ก.ย. 67

 

เปิดคำสั่งโครงสร้าง คอส.-ศปช. แก้ปัญหาน้ำท่วม-วาตภัย-ดินโคลนถล่ม แบ่งผู้รับผิดชอบ หน้าที่ อํานาจชัดเจน 

วันที่ 16 ก.ย. 67 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 312/2567 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลน และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม 

โดยที่ในขณะนี้ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้การอํานวยการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ดําเนินไปอย่างเป็นระบบมีการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการ และจัดตั้งศูนย์สนับสนุนการอํานวยการ และบริหารสถานการณ์ ดังต่อไปนี้ 

1.คณะกรรมการอํานวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม เรียกโดยย่อว่า “คอส.” โดยมี องค์ประกอบ หน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ 

องค์ประกอบ

  1. นายกรัฐมนตรี
  2. รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานกรรมการ
  3. รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ
  4. รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ
  5. รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธานกรรมการ
  6. รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
  7. รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ
  8. รมว.สาธารณสุข เป็นกรรมการ
  9. รมว.รพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรรมการ
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
  • ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
  • เลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ เป็นกรรมการ
  • ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ
  • ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ
  • ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
  • อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นกรรมการ
  • ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เป็นกรรมการ
  • อธิบดีกรมชลประทาน เป็นกรรมการ
  • อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นกรรมการ
  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นกรรมการ
  • ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
  • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นกรรมการ
  • เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก เป็นกรรมการ
  • ผู้อํานวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการ
  • ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)เป็นกรรมการ
  • อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ
  • รองเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • ผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • ผู้อํานวยการกองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

สำหรับ หน้าที่และอํานาจนั้น

  • อํานวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ที่ครอบคลุม ทั้งในส่วนของการเตรียมพร้อม การติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์ การป้องกัน การช่วยเหลือเยียวยา และ การฟื้นฟูบูรณะภายหลังเกิดภัย
  • สั่งการให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ บูรณาการและ ปฏิบัติงานภายในขอบเขตหน้าที่และอํานาจตามกฎหมาย
  • กํากับติดตามประเมินผลในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
  • แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน และเจ้าหน้าที่เพื่อ ดําเนินการตามที่ คอส. มอบหมาย
  • ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย  
  1. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม เรียกโดยย่อว่า “ศปช.” ขึ้น ณ ทําเนียบรัฐบาล โดยมีองค์ประกอบ ผู้รับผิดชอบ หน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้ 

 องค์ประกอบ

  1. รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นผู้อํานวยการศูนย์
  2. รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย เป็นรองผู้อํานวยการศูนย์
  3. รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม เป็นรองผู้อํานวยการศูนย์
  4. รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นรองผู้อํานวยการศูนย์
  5. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประจําศูนย์
  • ผู้แทนสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
  • ผู้แทนกระทรวงกลาโหม
  • ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ผู้แทนกระทรวงคมนาคม
  • ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
  • ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ผู้แทนสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
  • ผู้แทนสํานักงบประมาณ
  • ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
  • ผู้แทนกรมชลประทาน
  • ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี
  • ผู้แทนกรมอุตุนิยมวิทยา
  • ผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย
  • ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
  • ผู้แทนหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  • ผู้แทนกรมกิจการพลเรือนทหารบก
  • ผู้แทนสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (องค์การมหาชน)
  • ผู้แทนสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
  • ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ผู้แทนสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • ให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ทําหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ศปช.
  • อธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย และรองเลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ 

สำหรับ หน้าที่และอํานาจนั้น

  • เป็นหน่วยบัญชาการที่บูรณาการหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในการ
  • อํานวยการ และปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุกภัยแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service)
  • สั่งการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย รวมถึงการรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ประสบภัยให้ทั่ว ทั่วถึงเต็มพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน รวมทั้ง
  • วางแผนการเคลื่อนย้าย และจัดเตรียมที่พักอาศัยให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย
  • กํากับดูแลการจัดส่งอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ยังชีพ ให้ผู้ประสบ
  • อุทกภัยอย่างพอเพียงและทั่วถึงสถานการณ์โดยเร็ว
  • ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนให้ทันต่อ
  • กํากับการดําเนินการเพื่อผลักดันระบายน้ํา เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ
  • ติดตามและประมวลข้อมูลสถานการณ์ และการช่วยเหลือเพื่อรายงานรัฐบาล คณะกรรมการอํานวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม และเสนอแนะผู้มีอํานาจ หน้าที่ตามกฎหมายเพื่อสั่งการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • ได้ตามความจําเป็น
  • ตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทํางาน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ประธานกรรมการ คณะกรรมการอํานวยการและ บริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม มอบหมาย 
  1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
  2. ให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสนับสนุนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม เบี้ยประชุมกรรมการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  3. ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของ คอส. ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของ สปช. ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานปลัด สํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวการเมือง เป็นกระแส