Luckin Coffee เคยเป็นร้านกาแฟที่เกือบล้มละลายจากเรื่องอื้อฉาวทางบัญชี แต่กลับมาผงาดขึ้นเป็นร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในจีน แซงหน้า Starbucks ได้อย่างน่าทึ่ง อะไร คือ ปัจจัยที่ทำให้ Luckin Coffee ประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้?
บทความนี้จะพาไปเจาะลึกเบื้องหลังการกลับมาของ Luckin Coffee ตั้งแต่กลยุทธ์การตลาดที่เน้นราคาถูกและระบบอัตโนมัติ จนถึงการพัฒนาเมนูที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีน และการได้รับการสนับสนุนจากกองทุน private equity ที่มีวิสัยทัศน์ และ บทเรียนสำคัญหลายประการที่สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจอื่น ๆ
หลังจากที่ Luckin Coffee ถูกเปิดโปงว่า มีการทุจริตทางบัญชีในปี 2020 หลายคนเชื่อว่าบริษัทที่ถูกมองว่าเป็น Starbucks แห่งจีนนี้คงจะจบสิ้น แต่วันนี้ Luckin Coffee ไม่เพียงแต่รอดชีวิต แต่ยังกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ด้วยลาเต้ราคาถูก ดึงดูดลูกค้าจำนวนมาก จนแซง Starbucks ขึ้นเป็นร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จีน เมื่อปีที่แล้ว จากที่เคยถูกมองว่าเป็นแค่ตัวเลียนแบบราคาถูกของร้านกาแฟยักษ์ใหญ่จากซีแอตเทิล ตอนนี้ Luckin Coffee กลายเป็นต้นแบบให้ร้านกาแฟจีนอื่นๆ
Starbucks เองก็ดูเหมือนจะได้เรียนรู้อะไรจาก Luckin Coffee ไปบ้าง จากการฟื้นตัวของ Luckin Coffee แสดงให้เห็นว่า ยังมีโอกาสเติบโตได้ในเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับภาวะเงินฝืดและวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นบทเรียนสำหรับบริษัทระดับโลกที่ถ้าไม่ระวังตัวก็อาจจะตามตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกไม่ทัน ซึ่งตลาดนี้มีความซับซ้อนและเป็นท้องถิ่นมากขึ้นกว่ายุคก่อนที่การเติบโตนั้นง่ายและรวดเร็ว
สำหรับการฟื้นตัวนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าZang Zhongtang อดีตรองประธานอาวุโสของ Luckin Coffee มีเรื่องราวความสำเร็จที่เคยถูกตั้งคำถามจากเรื่องอื้อฉาวของบริษัท "คนส่วนใหญ่คิดว่ามันจะต้องตาย"
Zang กล่าวว่า เขาลาออกในปี 2020 แม้ว่าเขาจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดใดๆ "แน่นอนว่าการปลอมแปลงข้อมูลนั้นผิดและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่คุณก็ยังต้องยอมรับว่าโมเดลธุรกิจของพวกเขามันยอดเยี่ยมจริงๆ"
สำหรับกุญแจสำคัญของโมเดลนั้น คือ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลที่ช่วยประหยัดแรงงาน ซึ่งลดต้นทุนและเวลาในการให้บริการ
Zang วัย 46 ปี ยังกล่าวอีกว่า ประสิทธิภาพที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีนี้ยังคงเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Luckin Coffee และความสามารถในการขายกาแฟราคาถูกกว่า Starbucks ปัจจุบันเขาทำงานที่ NaaS Technology Inc. บริษัทผู้ให้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของจีน
การมุ่งเน้นไปที่เคาน์เตอร์แบบ kiosk ที่ไม่ต้องใช้เงินสดและเน้นซื้อกลับบ้าน ซึ่งเดิมทีออกแบบมาเพื่อประหยัดต้นทุน กลับกลายเป็นผลดีในช่วงโควิด เนื่องจากนโยบายล็อกดาวน์ที่เข้มงวดจำกัดการพบปะกันโดยตรง หลังจากการระบาด กาแฟราคา 9.9 หยวน (47 บาท) ของ Luckin ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนจีนรุ่นใหม่ที่ไม่มีเวลาหรืองบประมาณที่จะไปนั่งจิบกาแฟที่ Starbucks หลายคนคุ้นเคยกับการได้รับสิ่งที่ต้องการอย่างรวดเร็ว เช่น รถเรียกผ่านแอปฯ มาถึงในไม่กี่นาที และของชำมักจะมาส่งภายในครึ่งชั่วโมง
ร้านกาแฟนี้ ถือว่าเป็นการเติบโตทำให้มีสาขากว่า 18,500 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปีก่อนหน้า และยังเกิดจากการขยายสาขาออกไปนอกเมืองใหญ่ระดับ 1 เช่น เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น เข้าสู่พื้นที่ห่างไกลที่ Starbucks ยังไม่ได้เข้าไป เพื่อดึงดูดผู้ที่ดื่มชาของจีนให้มาลองกาแฟ Luckin Coffee ได้พัฒนาเครื่องดื่มที่ตอบสนองความชอบของคนท้องถิ่นที่ชอบเครื่องดื่มหวานๆ และนมเยอะๆ
ขณะที่ราคาหุ้นของ Luckin Coffee ก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 12 เท่าจากจุดต่ำสุดหลังจากเรื่องอื้อฉาว แม้ว่าจะยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2020 ที่ Nasdaq อยู่ 63% และเมื่อเร็วๆ นี้ก็ลดลงเนื่องจากขาดทุนรายไตรมาสจากต้นทุนการขยายสาขาและส่วนลดจำนวนมาก
ทาง Starbucks มักจะมองข้ามภัยคุกคามจาก Luckin Coffee เพราะเมื่อในเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัทจากสหรัฐฯ ดูเหมือนจะไม่สนใจการขายใน เรทราคาขายที่ต่ำของทาง Luckin Coffee โดยมองว่าเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราว "คุณจะเห็นคู่แข่งในตลาดมุ่งเน้นการขยายร้านค้าอย่างรวดเร็วและใช้กลยุทธ์ราคาต่ำเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาลอง ซึ่งสิ่งนี้จะค่อยๆ หายไปตามกาลเวลา" Belinda Wong ผู้ดูแล Starbucks ในจีน กล่าวกับนักวิเคราะห์
ขณะนี้ Starbucks ก็เริ่มประสบปัญหา ในไตรมาสที่ผ่านมาจนถึงเดือนมีนาคม ยอดขายในจีนลดลง 8% จากปีก่อนหน้า เมื่อเทียบกับทาง Luckin Coffee ที่เพิ่มขึ้น 42% หลังจากยอดขายชะลอตัวในสหรัฐฯ และจีน Starbucks ยังออกคำเตือนเรื่องผลกำไรที่น่าตกใจจน Howard Schultz ผู้ก่อตั้ง Starbucks ต้องออกมาแสดงความคิดเห็นหลังจากที่เขาเกษียณไปแล้ว โดยข้อเสนอแนะของเขารวมถึงการปรับปรุงระบบการสั่งซื้อและชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งเป็นจุดแข็งของทาง Luckin Coffee
ด้าน Luckin Laxman Narasimhan ซีอีโอ Starbucks กล่าวกับนักวิเคราะห์ในการประชุมทางโทรศัพท์เกี่ยวกับผลประกอบการว่า บริษัทปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมสำหรับเรื่องนี้
การฟื้นตัวของ Luckin Coffee จากวิกฤตการณ์ทุจริตทางบัญชีในปี 2020 อาจไม่ประสบความสำเร็จได้ หากปราศจากการสนับสนุนของ Centurium Capital กองทุน private equity ที่ตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนแทนการถอนตัว โดยกองทุนได้เข้ามาช่วยเหลือ Luckin Coffee ด้วยเงินทุน 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย
ด้าน David Li ประธานของ Centurium Capital แม้จะมีความสัมพันธ์อันดีกับ Lu Zhengyao ผู้ก่อตั้ง Luckin Coffee แต่ Li ตัดสินใจว่า Luckin Coffee จำเป็นต้องตัดขาดจาก Lu เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ โดย Li ได้แต่งตั้ง Guo Jinyi ขึ้นเป็นผู้บริหารแทน และส่งทีมงานของ Centurium เข้ามาปรับปรุงการดำเนินงาน ทั้งการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร การจ้างผู้บริหารที่มีความสามารถ และการนำระบบแฟรนไชส์มาใช้เพื่อขยายสาขาอย่างรวดเร็ว
กลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลให้ Luckin Coffee สามารถหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายได้ในเวลาเพียง 14 เดือน และปัจจุบัน Centurium เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Luckin Coffee โดย Lu ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทแล้ว และแม้ Luckin Coffee จะตัดขาดจาก Lu ซึ่งปัจจุบันได้ก่อตั้งร้านกาแฟคู่แข่งชื่อ Cotti แต่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและอดีตผู้บริหารของ Luckin Coffee มองว่า โมเดลธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นศูนย์กลาง ซึ่ง Lu ได้นำโปรแกรมเมอร์จาก CAR Inc. เข้ามาช่วยพัฒนา ยังคงเป็นจุดแข็งที่สำคัญของ Luckin Coffee เหนือคู่แข่ง
Luckin Coffee ไม่ได้เป็นเพียงร้านกาแฟทั่วไป แต่เป็นเสมือนบริษัทอีคอมเมิร์ซที่มีระบบดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยลดเวลาในการรอคิวของลูกค้า และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของผู้บริโภค นอกจากนี้ บริษัทยังใช้แอปพลิเคชันในการทำแคมเปญส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ด้านระบบดิจิทัลของ Luckin Coffee ยังช่วยให้ร้านค้าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยพนักงานจำนวนน้อย ซึ่งช่วยควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย และด้วยขั้นตอนการทำงานที่ไม่ซับซ้อน ทำให้พนักงานใหม่สามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว
กรณีศึกษาของ Luckin Coffee สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนจากนักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ Luckin Coffee สามารถพลิกฟื้นจากวิกฤตการณ์และกลับมาประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Luckin Coffee ไม่ได้เกิดจากระบบอัตโนมัติหรือกลยุทธ์ด้านราคาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากการพัฒนาและเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่สร้างสรรค์และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ชานมไข่มุกบราวน์ชูการ์ ที่นำเสนอรสชาติที่คุ้นเคยในรูปแบบใหม่
เมนูยอดนิยมอย่างลาเต้มะพร้าว ซึ่งผสานความหอมมันของกะทิเข้ากับกาแฟ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยสามารถทำยอดขายได้ถึง 70% ในบางสาขา ความกลมกล่อมของลาเต้มะพร้าวสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ไม่นิยมกาแฟรสเข้มอย่างเอสเปรสโซหรืออเมริกาโน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในตลาดจีน และเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ Luckin ต้องการเข้าถึงเพื่อขยายฐานลูกค้าทั่วประเทศ
นอกจากนี้ Luckin ยังมีเมนูสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น ชานมชีส และยังมีการเปิดตัวเมนูพิเศษเป็นระยะเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ตัวอย่างเช่น ลาเต้ผสมแอลกอฮอล์ที่ร่วมมือกับ Kweichow Moutai Co. แบรนด์สุราจีนชื่อดัง ก็ได้รับความสนใจอย่างมากใน TikTok และ Xiaohongshu
Dave Xie หุ้นส่วนด้านค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภคของ Oliver Wyman กล่าวว่า "Luckin สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของผู้บริโภคในประเทศ"
ความสำเร็จดังกล่าวได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของ Luckin Coffee จากผู้ลอกเลียนแบบที่เน้นราคาถูก สู่การเป็นผู้นำเทรนด์และผู้นำตลาด ด้วยเหตุนี้ ผู้บริโภคบางรายจึงเริ่มตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าในการจ่ายราคาที่สูงกว่าเพื่อซื้อกาแฟจาก Starbucks
Wency Deng พนักงานออฟฟิศวัย 35 ปีในเซินเจิ้น กล่าวว่า "ฉันจะไม่จ่ายเงินซื้อสินค้าที่แพงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดงานไม่ดีแบบนี้" เธอยังเสริมอีกว่า ลาเต้มะพร้าวของ Luckin Coffee "อร่อยมาก"
ถึงแม้จะผ่านเรื่องอื้อฉาวมาแล้ว แต่หุ้น Luckin Coffee ในตลาด OTC ก็ฟื้นตัวขึ้นอย่างน่าประทับใจ ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 12 เท่าจากจุดต่ำสุด ถึงแม้ว่าจะยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2563 ในตลาด Nasdaq อยู่ 63% และเมื่อต้นเดือน หุ้น Luckin Coffee ในตลาด OTC ปิดตัวลดลง 0.1% ที่ราคา 18.34 ดอลลาร์ ในขณะที่หุ้นของ Starbucks ในวันเดียวกันปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.4% ที่ราคา 81.47 ดอลลาร์ ตามข้อมูลจาก Benzinga Pro
ถึงแม้ Starbucks พยายามทวงคืนส่วนแบ่งตลาดด้วยการเพิ่มความถี่ในการแจกคูปองส่วนลด และยืนยันว่า จะไม่เข้ามาแข่งในสงครามราคากับทาง Luckin Coffee ก็ตาม แต่สถานการณ์ของ Starbucks ก็ไม่สู้ดีเท่าไรนัก เนื่องจากยอดขายในสหรัฐฯ ที่กำลังเผชิญภาวะการเติบโตชะลอตัวเช่นเดียวกับในจีน
เวลานี้ Luckin Coffee เองก็กำลังเผชิญกับคู่แข่งในประเทศที่เพิ่มขึ้น เช่น KCoffee ของ KFC ซึ่งขายกาแฟราคาเพียง 5 หยวนสำหรับผู้ซื้อบัตรส่วนลดรายเดือน แต่คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด คือ Cotti ที่ก่อตั้งโดย Lu อดีตผู้ก่อตั้ง Luckin Coffee ในปี 2022 และเวลานี้มีสาขาแล้วกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับกลยุทธ์ที่ Cotti เลือกใช้ คือ การเลียนแบบกลยุทธ์ของ Luckin Coffee ด้วยการขยายสาขาอย่างรวดเร็วและทำการตลาดเชิงรุก ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว Cotti ขายเครื่องดื่มบางชนิดในราคาเพียง 8.8 หยวน ทำให้ Luckin Coffee ต้องตอบโต้ด้วยการออกคูปองส่วนลด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Luckin Coffee ขาดทุนรายไตรมาสเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2021
ด้านนักวิเคราะห์ ประเมินว่าว่า Luckin Coffee ยังคงได้เปรียบ Cotti เนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวทำให้ Cotti ระดมทุนได้ยากขึ้น Luckin เพิ่งเปิดโรงคั่วกาแฟแห่งใหม่มูลค่า 120 ล้านดอลลาร์ในคุนซาน ใกล้เซี่ยงไฮ้ มีกำลังการผลิต 30,000 ตันต่อปี ซึ่งใหญ่ที่สุดในจีน เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถส่งเมล็ดกาแฟคุณภาพสูงไปยังเครือข่ายร้านค้าที่กำลังขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว และแม้จะขาดทุนในไตรมาสแรก Luckin Coffee คาดว่าจะทำกำไรได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากอัตรากำไรดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ลูกค้าบางคนสังเกตว่า Luckin Coffee เวลานี้ทำการลดการอัดโปรโมชั่นพิเศษลงบ้างแล้ว
ด้าน Starbucks เองถึงแม้จะพยายามทวงคืนส่วนแบ่งตลาดด้วยการเพิ่มความถี่ในการแจกคูปองส่วนลด แต่ก็ยืนยันว่าจะไม่เข้ามาร่วมสงครามราคากับทาง Luckin Coffee ก็ตามแต่ทางนอกจากนี้สถานการณ์ทาง Starbucks ก็ไม่สู้ดีเท่าไรเพราะยอดขายในสหรัฐฯ ที่กำลังเผชิญภาวะการเติบโตชะลอตัวเช่นเดียวกับในจีน
ด้าน Jessica Gleeson อดีตผู้บริหาร Starbucks China และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาธุรกิจค้าปลีกในเซี่ยงไฮ้ เชื่อว่าตลาดกาแฟจีนยังมีที่ว่างสำหรับผู้เล่นหลายราย โดยตลาดกาแฟจีนเติบโตขึ้น 7 เท่าตั้งแต่ Luckin Coffee ก่อตั้งในปี 2017 และคาดว่าจะเติบโตเป็นสองเท่าในอีก 4 ปีข้างหน้า เธอมองว่า Luckin Coffee ช่วยเปลี่ยนกาแฟจากเครื่องดื่มสำหรับโอกาสพิเศษมาเป็นเครื่องดื่มประจำวัน ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจกาแฟทั้งหมดในจีน
จากเรื่องราวของ Luckin Coffee เราได้ถอดบทเรียนสำคัญหลายประการที่สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจอื่น ๆ ได้ดังนี้
จากเรื่องราวของ Luckin Coffee เราได้เห็นถึงความสามารถในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมเมนู และการสนับสนุนจากนักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ ทำให้ Luckin Coffee ไม่เพียงแต่ฟื้นตัวจากเรื่องอื้อฉาวทางบัญชี แต่ยังสามารถแซงหน้า Starbucks ขึ้นเป็นผู้นำตลาดกาแฟในจีนได้สำเร็จ และ การเติบโตของ Luckin Coffee ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวจีนที่หันมาดื่มกาแฟเป็นประจำมากขึ้น และความต้องการกาแฟที่หลากหลายและราคาเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดที่จะเติบโตตามไปด้วย
สุดท้ายนี้ เรื่องราวของ Luckin Coffee เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและให้บทเรียนที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดจีนและตลาดโลก และถึงแม้ว่า Luckin Coffee จะยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากคู่แข่งและสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน แต่ความสำเร็จที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า Luckin Coffee มีศักยภาพที่จะเติบโตและพัฒนาต่อไปในอนาคต และอาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจอื่นๆ ที่กำลังเผชิญกับความยากลำบากให้ไม่ยอมแพ้และลุกขึ้นสู้ต่อไป