หากพูดถึงยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของเมืองไทย ชื่อของ‘เครือสหพัฒน์’คงเป็นบริษัทแรกๆที่เข้ามาในใจคนไทย เนื่องจากเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภคใกล้ตัวที่ใครหลายคนต้องเคยใช้ในชีวิตประจำวันจนเรารู้จักดี เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ ผงซักฟอกเปา น้ำตาลมิตรผล ยาสีฟัน-แปรงสีฟันซอลส์ ครีมอาบน้ำโชกุบุสซึ โมโนกาตาริ ครีมอาบน้ำและโฟมล้างมือคิเรอิ คิเรอิ หรือแม้แต่ ชุดชั้นในสตรีวาโก้ เป็นต้น
แต่รู้หรือไม่ว่า เครือสหพัฒน์ ได้เริ่มธุรกิจจากร้านขายของเบ็ดเตล็ต บนถนนทรงวาด ด้วยเงินทุนเพียง 10,000 บาท มาจนถึงวันนี้ที่เครือสหพัฒน์ ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 แห่งวงการสินค้าอุปโภคและบริโภคในประเทศไทย ขยายอาณาจักรในเครือมากกว่า 200 บริษัท มีทั้งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหากนับแต่บริษัทที่นามสกุลมหาชน พบว่า มีมูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
บทความนี้ ทีม SPOTLIGHT ชวนทุกคนมารู้จัก ‘เครือสหพัฒน์’ จาก ร้านโชห่วย ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก้าวสู่เบอร์ 1 สินค้าอุปโภค- บริโภคในไทย
สหพัฒน์ เริ่มจากร้านขายของเบ็ดเตล็ด
“สหพัฒน์” หรือ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ถือกำเนิดจากร้าน “เฮียบเซ่งเชียง” ร้านค้าเล็กๆ ที่ตรอกอาเนียเก็ง ถนนทรงวาด ด้วยเงินทุนเพียง 10,000 บาท เมื่อปีพ.ศ. 2485 หรือเมื่อ 82 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นกิจการของ “ลี้เฮงเทียม” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “เทียม โชควัฒนา” โดยเริ่ม จากการขายของเบ็ดเตล็ดที่สั่งซื้อจากฮ่องกง
เริ่มแรก ร้านนายเทียมขายของแค่ นม, น้ำตาล, แป้งสาลี, น้ำมัน แต่เมื่อความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้น และหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้นายเทียม เพิ่มประเภทสินค้าให้ครอบคลุมทุกความต้องการมากขึ้น เช่น เสื้อผ้า, ยารักษาโรค, อาหารกระป๋อง, กระติกน้ำ, ถ่านไฟฉาย, ยากันยุง หรือแม้แต่ หีบเพลง
ร้านค้าเฮียบเซ่งเชียง เติบโตอย่างรวดเร็ว จนต่อมาได้ขยายกิจการ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ด้วย ทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท เมื่อปี 2495 โดยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากหลากหลายประเทศเข้ามาจำหน่าย จนสินค้ามีหลากหลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้คนทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค จนมีคนเปรียบเปรยว่า “อะไรที่มนุษย์ต้องกินต้องใช้ ในเวลานั้นสหพัฒน์มีขายทุกอย่าง”
เปิดเส้นทาง เครือสหพัฒน์ ก่อนใช้นามสกุลมหาชน
-
ปี 2501 สหพัฒน์ ติดต่อกับ บริษัท ไลอ้อน ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสั่งแชมพูผงและยาสีฟันแบรนด์ไลอ้อนเข้ามาจำหน่าย ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ในปีต่อมา สหพัฒน์ ต้องสั่งเครื่องจักรเข้ามาทำการบรรจุแชมพูเอง เพื่อให้มีสินค้าทันกับความต้องการของตลาด ก่อนที่จะมีการร่วมทุนกันก่อตั้ง บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ในปี 2510
-
ปี 2504 สหพัฒน์เปิดบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอางแมคแฟคเตอร์ และสร้างประวัติการขาย ด้วยการมี “ผู้แนะนำสินค้า” หรือ BA (Beauty Advisor) ประจำเคาน์เตอร์ ทำหน้าที่แนะนำสินค้า และให้คำปรึกษาด้านความงามแก่ลูกค้า
-
ปี 2515 สหพัฒน์ตั้งบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้เครื่องหมายการค้า “มาม่า” ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิต และบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า
-
ปี 2519 สหพัฒน์ ที่เคยจำหน่ายผงซักฟอกท้อป (ปี 2503), ผงซักฟอกช้างเผือก (ปี 2505) เริ่มจำหน่ายผงซักฟอกแบรนด์น้องใหม่ ซึ่งใช้ชื่อขุนนางจีนที่ซื่อสัตย์อย่าง “เปาบุ้นจิ้น” มาเป็นชื่อแบรนด์ เอารูปนักแสดงที่รับบทเปาบุ้นจิ้น-ซีรีย์ยาวทางทีวีที่กำลังเป็นที่นิยมเวลานั้นมาเป็นโลโก้สินค้า ภายใต้สโลแกนว่า “คุณภาพซื่อสัตย์ ราคายุติธรรม” เพื่อหวังตีผู้นำตลาดเวลานั้นที่เป็นสินค้าแบรนด์ตะวันตก และรีแบรนด์ให้ร่วมสมัยเป็น “ผงซักฟอกเปา” ในปี 2530
-
ปี 2537 จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัทภายใต้ ‘เครือสหพัฒน์’
บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC
บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC ตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดในประเทศ
ตัวอย่างสินค้า :
-
แบรนด์ 108 shop หรือ 3 แจ๋ว ผงซักฟอก
-
แบรนด์ซื่อสัตย์ ที่มีสินค้าครอบคลุมตั้งแต่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
-
แบรนด์โปร น้ำยาล้างจาน
-
แบรนด์เปา ผงซักฟอก
-
แบรนด์ De Paris น้ำยาปรับผ้านุ่ม
-
แบรนด์คินโช ยาจุดกันยุ่ง
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2564
รายได้ 33,554,548,260 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,599,421,543 บาท
ปี 2565
รายได้ 35,222,039,315 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,652,831,501 บาท
ปี 2566
รายได้ 37,848,037,882 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,264,568,268 บาท
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA
บริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า ‘มาม่า’ และยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมาย
ตัวอย่างสินค้า :
- แบรนด์มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- แบรนด์บิสชิน ขนมปังบิสกิตและแครกเกอร์
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2563
รายได้ 15,043,414,549 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 3,138,877,395 บาท
ปี 2564
รายได้ 15,808,823,693 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,686,501,318 บาท
ปี 2565
รายได้ 16,947,264,476 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,925,497,316 บาท
บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ ICC
ผู้นำธุรกิจการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ กว่า 100 แบรนด์ มีทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย, ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก และ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตัวอย่างสินค้า :
-
ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย แบรนด์ ARROW, Becky Russell, DAKS, ELLE, Guy Laroche, LACOSTE
-
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก แบรนด์ Absorba, Enfant, Little Wacoal, St. Andrew
-
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง แบรนด์ Arty Professional, BSC Cosmetology, Pure Care
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2563
รายได้ 8,174,434,254 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,879,843 บาท
ปี 2564
รายได้ 7,259,771,265 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 105,007,832 บาท
ปี 2565
รายได้ 9,258,039,530 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 587,884,935 บาท
บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ PB
ผู้นำในการผลิตและจำหน่ายขนมปัง และเบเกอรี่ ภายใต้แบรนด์ ‘ฟาร์มเฮาท์’
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2563
รายได้ 7,248,391,824 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,677,270,213 บาท
ปี 2564
รายได้ 7,255,248,288 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,686,146,421 บาท
ปี 2565
รายได้ 7,629,967,134 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,703,408,905 บาท
บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ WACOAL
ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วย ชุดชั้นในสตรี ชุดชั้นนอกสตรี และชุดเด็ก โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ ชุดชั้นในสตรี ภายใต้เครื่องหมายการค้า ‘วาโก้’
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2563
รายได้ 3,506,800,873 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -178,957,676 บาท
ปี 2564
รายได้ 3,542,670,619 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -141,694,530 บาท
ปี 2565
รายได้ 4,265,367,413 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 66,237,868 บาท
บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TNL
ผู้ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องหนังครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และเด็ก รวมทั้งเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์เสื้อผ้า อาทิ era-won, ARROW
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2563
รายได้ 1,255,518,271 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 7,968,897 บาท
ปี 2564
รายได้ 1,437,686,896 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 60,992,647 บาท
ปี 2565
รายได้ 1,935,503,524 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 100,329,632 บาท
บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BTNC
จัดจำหน่าย ออกแบบ และผลิตสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปสำหรับสตรีและบุรุษภายใต้แบรนด์สินค้ามากมาย เช่น GUY LAROCHE, C&D, LOF.FI.CIEL, JOUSSE, GSP ฯลฯ
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2563
รายได้ 385,345,541 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -47,350,193 บาท
ปี 2564
รายได้ 427,790,674 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ -25,088,014 บาท
ปี 2565
รายได้ 303,783,447 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 20,953,906 บาท
บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SVT
ประกอบธุรกิจค้าปลีกขายสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (“Vending Machine”) โดยให้บริการติดตั้งและบริหารจัดการสินค้าที่วางขายผ่านเครื่อง Vending อีกทั้งยังเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติแบบครบวงจร SVT เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปี
ส่องผลประกอบการย้อนหลัง 2 ปี
ปี 2564
รายได้ 1,963,322,063 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 66,686,968 บาท
ปี 2565
รายได้ 2,244,524,002 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 85,266,438 บาท