Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
คนไทยเป็นหนี้เรื้อรัง ออกจากวังวนหนี้ไม่ได้ ธปท.เตรียมออกเกณฑ์ใหม่ช่วย
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

คนไทยเป็นหนี้เรื้อรัง ออกจากวังวนหนี้ไม่ได้ ธปท.เตรียมออกเกณฑ์ใหม่ช่วย

20 ก.ค. 66
14:44 น.
|
759
แชร์

เราได้ยินมานานว่าคนไทย เป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้มาก และเป็นหนี้นาน บางคนเกษียณแล้วยังต้องหาเงินใช้หนี้อยู่ก็มีปัญหาหนี้ของคนไทยสะท้อนผ่านตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเกณฑ์ใหม่เพิ่มหนี้อีก 4 กลุ่มเข้ามารวม คือ หนี้ กยศ. หนี้สหกรณ์ หนี้การเคหะแห่งชาติ และหนี้พิโกไฟแนนซ์ นั่นจึงทำให้หนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP สูงขึ้นเป็น 90.6% ซึ่งเกินเกณฑ์ 80% ต่อGDP ปัญหาหนี้ จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนเปรียบเทียบว่า เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ของเศรษฐกิจไทย 

ผู้ว่าแบงก์ชาติ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

ผู้ว่าแบงก์ชาติยืนยันไม่เกิด NPL Cliff แต่ห่วงคนเป็นหนี้เรื้อรัง 

ธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์หนี้ของคนไทยโดยผู้ว่าแบงก์ชาติ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ได้อธิบายสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยว่า แม้หนี้ครัวเรือนไทยจะสูงมากถึง 90.6% ต่อGDP แต่ยังสบายใจได้ที่จะไม่เกิด NPL Cliff ขึ้น หรือสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติหนี้ เพราะหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ อาจไม่ได้กลายเป็นหนี้เสียหรือ NPL เสมอไป สถาบันการเงินยังเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ต่อเนื่อง หนี้ผิดนัดจำนวนหนึ่งยังไหลกลับไปเป็นหนี้ปกติได้ ในอัตราที่สูงกว่า กลายเป็นหนี้ NPL 

แต่ถึงอย่างนั้นก็มีคนไทยหลายกลุ่มที่ยังมีปัญหาเรื่องหนี้หนักอยู่ โดยเฉพาะลูกหนี้ 4 กลุ่มที่ ยังคงต้องได้รับการดูแล คือ 

1.กลุ่มที่เป็นหนี้เสียในปัจจุบัน
2.กลุ่มคนเป็นหนี้เรื้อรัง  เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสูง / จ่ายแต่ดอก ไม่หมดต้นซักที
3.กลุ่มคนที่เป็นหนี้เร็ว เช่น กลุ่ม GenZ
4.กลุ่มคนเป็นหนี้นอกระบบ 

 ออกเกณฑ์ Responsible Lending ให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม 

ผู้ว่าแบงก์ชาติระบุว่า สิ้นปีนี้มาตรการดูแลลูกหนี้ที่แบงก์ชาติออกในช่วงโควิดกำลังจะหมดอายุ และที่ผ่านมา มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เกิดขึ้นในช่วงโควิด 19 ที่มุ่งเน้นคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แย่ลง รายได้ลดลง แต่สถานการณ์ปัจจุบันเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มาตรการที่จะดูแลคนเป็นหนี้ต่อไปก็จะเฉพาะเจาะจง ตรงจุด และยั่งยืน ไปยังกลุ่มคนที่มีปัญหาจริง

Responsible Lending คือ หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เพื่อปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อนก่อหนี้

  • สถาบันการเงิน ต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์โดยให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน เปรียบเทียบได้ เพื่อกระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ ณ จุดตัดสินใจการกู้เงิน

  • และเมื่อมีปัญหาชำระหนี้สถาบันการเงิน ต้องเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ก่อนฟ้องหรือขายหนี้ และท้ายสุด หากสถาบันการเงินจะฟ้องหรือโอนขายหนี้ ลูกหนี้ต้องรู้สิทธิ์และข้อมูลสำคัญครบถ้วน

  • อีกส่วนหนึ่งของเกณฑ์ Responsible Lending คือ การกำหนดแนวทางให้เจ้าหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้เรื้อรัง (persistent debt) หรือกลุ่มที่ยังจ่ายหนี้ได้ตามปกติ แต่ปิดจบหนี้ไม่ได้ เพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และมีเงินเหลือพอดำรงชีพ

ขอบเขตของการให้ความช่วยเหลือจะครอบคลุมลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลหมุนเวียน (revolving P-loan) ที่มีรายได้น้อยและจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยหากลูกหนี้เลือกเข้ามาตรการนี้ (opt-in) สถาบันการเงินจะแปลงหนี้เดิมเป็นสินเชื่อระยะยาว (term loan) และต้องปิดจบหนี้ภายใน 5 ปีด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี โดย ธปท. จะออก consultation paper ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ และจะบังคับใช้เกณฑ์ Responsible Lending และ persistent debt ในวันที่ 1 ม.ค. 67 และ 1 เม.ย. 67 ตามลำดับ

ผู้ว่าแบงก์ชาติ ระบุว่า มาตรการดังกล่าวคงยังไม่ได้ช่วยให้หนี้ครัวเรือนปรับลดลงได้อย่างเบ็ดเสร็จและในทันที แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของมาตรการในภาพรวมที่มุ่งหวังจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

แชร์
คนไทยเป็นหนี้เรื้อรัง ออกจากวังวนหนี้ไม่ได้ ธปท.เตรียมออกเกณฑ์ใหม่ช่วย