ในฐานะคนที่ทำงานในวงการการเงินการลงทุนมากว่า 10 ปี ต้องบอกว่าผมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของกองทุนลดหย่อนภาษีมาหลายรูปแบบ และมักจะมีคำถามอยู่เสมอว่ากองทุนแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร และในปี 2568 นี้ ก็ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการมาของกองทุน TESGX และสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน เรามาไล่เรียงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2568 กันดีกว่าครับ
สิ่งแรกที่ต้องทราบคือ กองทุน SSF ได้สิ้นสุดลงแล้ว (ไม่สามารถซื้อเพิ่มได้) เนื่องกองทุนนี้ออกมาในช่วงเวลาจำกัดเพียง 5 ปี (2563-2567) ซึ่งในปี 2568 ตั้งแต่ต้นปีมานี้ ไม่มีการพูดถึงการต่ออายุ SSF อีกต่อไป นั่นแปลว่าใครที่ซื้อ SSF ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราก็มีหน้าที่ถือต่อไปให้ครบกำหนดตามเงื่อนไขของกฎหมายครับ
จากผลในข้อ 1 ทำให้เรามีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเดิมที่ยกมา คือ RMF (Retirement Mutual Fund) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้่ยงชีพ ที่สามารถลงทุนตามเงื่อนไขดังนี้ครับ
กับอีกกองทุนหนึ่ง คือ กองทุน Thai ESG หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ที่ลงทุนในใน หุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย ที่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ตามหลักด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในประเทศไทย โดยมีการขยายสิทธิ์ลดหย่อนภาษีในปี 2567-2569 เป็นดังนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 มีมติ ครม. ออกมาเกี่ยวกับกองทุนใหม่ชื่อ "Thai ESG X" กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (โดย X ย่อมาจาก Extra) เพื่อกระตุ้นตลาดหุ้นไทยที่ซบเซา และในปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่ 398 ออกมากำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ
สิ่งที่กองทุน Thai ESG X แตกต่างประเภทการลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีประเภทอื่น มี 2 รูปแบบ
โดยสำหรับการโอนย้ายไป LTF นั้นจะมีสิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 500,000 บาท โดยแบ่งเป็น
โดยทั้งสองกรณีนี้ มีช่วงเวลาใช้สิทธิ์: เฉพาะเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2568 (2 เดือนเท่านั้น) และต้องถือครอง 5 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อหรือใช้สิทธิ์
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะมีคำถามต่อว่า แล้วควรพิจารณาอย่างไรดี สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีทั้งหมดในปี 2568 นี้ ผมอยากแนะนำว่า การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีไม่ควรมองแค่ประโยชน์ด้านภาษีเท่านั้น ควรพิจารณาปัจจัยดังนี้
สุดท้ายนี้ ผมอยากย้ำว่า การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวางแผนทางการเงิน ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินโดยรวม และความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคนด้วยนะครับ
หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นในเดือนเมษายน 2568 โปรดติดตามข้อมูลล่าสุดจากกรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เจ้าของเพจ TAXBugnoms