Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เมื่อดอกเบี้ยขาขึ้น แล้วไทยจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ?
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

เมื่อดอกเบี้ยขาขึ้น แล้วไทยจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ?

18 มิ.ย. 65
11:19 น.
|
1.8K
แชร์

ภายหลังจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหรัฐ ในอัตรา 0.75% ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งเดียวที่มากที่สุดในรอบ28ปี และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของFed อยู่ที่ 1.50 - 1.75% ธนาคารกลางของประเทศต่างๆทราบดีว่า ผลจากความห่างของดอกเบี้ยเฟด และ ดอกเบี้ยของประเทศตัวเองที่ต่ำกว่าจะส่งผลอย่างไรบ้าง เราจึงได้เห็นธนาคารกลางของ 10 ประเทศประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเฟดในทันที   

 

10 ชาติขึ้นอัตราดอกเบี้ชนตามเฟดทันที 

  • ฮ่องกง +0.75%    สู่ระดับ 2%
  • ไต้หวัน +0.125%   อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.5%
  • บราซิล +0.50%      อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 13.25% 
  • สวิตเซอร์แลนด์ +0.50%  อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ -0.25%
  • อังกฤษ +0.25%  อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่  1.25% 
  • ซาอุดิอาระเบีย +0.25% อัตราดอกเบี้ยrepo และ reverse repo ขึ้นไปอยู่ที่ 2.25% และ 1.75% ตามลำดับ
  • คูเวต + 0.25%  อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่  2.25% 
  • กาตาร์ +0.75%  บาห์เรน +0.75% สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ + 0.75%   


แบงค์ชาติไทยส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย รอการประชุมรอบถัดไป 10  สิงหาคม 2565 

การประชุมของธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนหน้านี้เคยมีการประชุมต่อปีราว 8  ครั้งแต่ในปีนี้คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลดจำนวนวันประชุม กนง.ลง เหลือ 6  ครั้ง เหตุผลคือ เพื่อมีระยะเวลาในการประเมินสภาวะเศณรษฐกิจไทยให้ชัดเจน มีคุณภาพมากขึ้น การประชุมบ่อยครั้งอาจจะกระทบจะสร้างภาระต่อการคาดเดาของตลาดการเงิน หรือสร้างเสียงรบกวนโดยไม่จำเป็น ซึ่งความถี่ที่ลดลงจะช่วยให้ตลาดการเงินสามารถคาดการณ์ทิศทางนโยบายได้ชัดเจนขึ้น และเป็นการสะท้อนถึงขีดจำกัดของนโยบายที่ไม่อาจปรับแต่ภาวะเศรษฐกิจได้อย่างละเอียดใกล้ชิด

 

"การประชุมครั้งล่าสุดของ กนง. ซึ่งเป็นครั้งที่ 3  ของปีนี้ดูเหมือนจะส่งสัญญาณที่ชัดเจน จากเสียงของคณะกรรมการที่แตกออกเป็น 4:3 โดย 3 ท่านต้องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว  นั่นจึงทำให้การประชุมครั้งถัดไปของ กนง. วันที่10 สิงหาคม จึงถูกประเมินว่า กนง. อาจขึ้นดอกเบี้ยก็เป็นได้ สาเหตุสำคัญเพราะ เงินเฟ้อไทยก็พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี อยู่ที่ระดับ 7.1%  แล้ว และยังมีท่าทีว่าจะขึ้นไปต่อ ท่ามกลางสถานการณ์ราคาสินค้าและพลังงานที่พุ่งขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมเริ่มได้อานิสงค์บวกจากการเปิดประเทศบ้างแล้ว "

ส่วนที่บางฝ่ายคาดการณ์ว่า กนง. จำเป็นต้องประชุมฉุกเฉินนัดพิเศษเพื่อขึ้นดอกเบี้ย ล่าสุดได้รับการยืนยันว่า ยังไม่มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดพิเศษ การประชุม 6 ครั้งต่อปี ยังเพียงพอและมีความเหมาะสมสำหรับการได้มาซึ่งข้อมูลใหม่ๆ เพื่อพิจารณานโยบายการเงิน


แต่การจะมีประชุมนัดพิเศษจะเกิดขึ้นเพียงในภาวะพิเศษเฉพาะ (exceptional circumstances) ที่มีพัฒนาการด้านเศรษฐกิจการเงินที่ไม่ได้คาดไว้และอาจกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินนโยบายของ กนง. ได้แก่ เศรษฐกิจ เสถียรภาพราคา และเสถียรภาพของระบบการเงินอย่างมีนัย

960825

ธนาคารกลางญี่ปุ่น สวนตลาดไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเฟด 

ปัจจัยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วนอกจากจะดูจากเสถียรภาพด้านราคา หรือ อัตราเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะประเมินถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย กรณีของญี่ปุ่นประชุมไล่เลี่ยกับเฟดเช่นกัน แต่สุดท้ายคณะกรรมการ BOJ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ คือคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.1% (ติดลบ)  และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ประมาณ 0% โดยการดำเนินนโยบายการเงินของ BOJ ยังคงสวนทางกับธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกที่พากันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ให้เหตุผลว่า BOJ จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%

 

แม้ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนล่าสุด เมษายน CPI พื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาอาหารสดซึ่งมีความผันผวนแต่รวมต้นทุนด้านพลังงานนั้น ได้ปรับตัวขึ้น 2.1% เป็นครั้งแรกที่เงินเฟ้อพุ่งสูงเกินเป้าหมายของ BOJ ในรอบ 7 ปี แต่หากตัดหมวดพลังงานออกก็ยังพบว่าเงินเฟ้อญี่ปุ่นยังต่ำกว่า 2% นั่นเอง ดังนั้นดูเหมือนสถานการณ์ของญี่ปุ่นจึงยังแตกต่างจากหลายประเทศ ที่เงินเฟ้อพุ่งทำลายสถิติ ธนาคารกลางยังคงต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำ เอื้อต่อเศรษฐกิจต่อไป  

 

แต่สิ่งที่ธนาคารกลางต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างหนัก ซึ่งนายคุโรดะเชื่อว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดปริวรรตเงินตราจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของภาคเอกชนในทันที และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นยังคงแข็งแกร่ง

 

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด 

"10 แบงก์ชาติ"แห่ขึ้นดอกเบี้ยตาม "เฟด" ทันทีวันนี้

FED ขึ้นดอกเบี้ยกระทบประเทศไทยอย่างไร ลุ้นกนง.ขึ้นดอกเบี้ย ส.ค.นี้

เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด หุ้น ทอง คริปโท ราคาฟื้นกลับ

"ทอง"เสี่ยงดิ่งสุดรอบ 1 ปี จับตาลุด 30,000 บาท ผวาเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

 

 

 

 

แชร์
เมื่อดอกเบี้ยขาขึ้น แล้วไทยจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ?