โลกร้อน Climate change ภาวะโลกเดือด หลังๆมานี้เราได้ยินคำเหล่านี้บ่อยมาก หลายๆมองว่าสภาพอากาศแปรปรวน คือเรื่องที่ไกลตัว แต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้คือเรื่องใกล้ตัวเรามาก เห็นได้จากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคเหนือของประเทศไทยในขณะนี้ หรือข่าวเครื่องบินตกหลุมอากาศในช่วงเดือนที่ผ่านมา
ทำไมภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช่วงหลังๆช่างดูน่ากลัว เกิดขึ้นบ่อย และมาถี่มากกว่าเดิม หรือเราอาจเข้าใกล้ วิกฤติวันสิ้นโลก เหมือนภาพยนต์ The Day After Tomorrow หรือเปล่า
บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญ จากหัวข้อเสวนา เราจะอยู่ให้รอดในภาวะโลกร้อนได้อย่างไร ? โดยคุณกรุณา บัวคำศรี สื่อมวลชน และ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ งาน Sustainability Expo 2024
“มนุษย์ต้องเห็น มนุษย์ถึงจะรู้สึก เมื่อเห็นภาพน้ำไหล รถหายไปตามน้ำ เราจะเห็นภาพแบบนั้น ก็จะรู้สึก ว่าเป็นสิ่งใกล้ตัวหนักมากขึ้น เมื่อนั้นเราถึงจะกลัว และรู้จักโลกร้อนเอง"
ผศ.ดร.ธรณ์ ได้บอกว่า ตั้งแต่วันนี้ จนถึงอีก 10 ปีข้างหน้า แผนที่โลกที่สีเขียวจะเหลือสีแดง คือโลกจะเหลือแต่ร้อนล้วนๆ
ในช่วงปีที่ผ่านมา นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์หลายๆท่านได้ออกมาบอกว่า อนาคตของกรุงเทพ อาจจะจมน้ำกลายเป็นเมืองบาดาล เนื่องจาก วิกฤตภาวะโลกเดือด และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี แต่ ผศ.ดร.ธรณ์ ออกมาโต้แย้งว่า “กรุงเทพฯ ไม่มีทางจม เพราะเราลงทุนเยอะเกินในเมืองแค่นี้ และการย้ายเมืองหลวงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย” แต่ถ้าถามว่าพื้นที่ไหนประเทศไทยมีสิทธิ์จม น่าจะเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ต่ำ เช่น อยุธยา อ่างทอง
แต่คุณกรุณา ได้ยกตัวอย่าง อินโดนิเซียที่กำลังจะย้ายเมืองหลวงอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2035 จาก “กรุงจาการ์ตา” ไป “นูซันตารา” เนื่องจากต้องการช่วยบรรเทปัญหาสิ่งแวดล้อม ดินทรุด การกระจุกตัวเศรษฐกิจและชุมชน
ผศ.ดร.ธรณ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า แม้ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่โชคดีเนื่องจาก location ของประเทศเราดี เวลาเกิดภัยพิบัติ เราจะไม่ได้รับผลกระทบมากเนื่องจากไม่ได้เป็นด้านหน้าของภับพิบัติ ไม่เหมือน ฟิลิปินส์ ที่ต้องเจอพายุ หรือ ญี่ปุ่น ที่เจอสึนามิ ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม สิ่งนี่เป็นเหมือนด้ามสองคม เพราะเวลาเราเจอภัยพิบัติ กลายเป็นว่าประชาชนตกใจ ทำอะไรไม่ถูก และไม่มีความรู้ในการเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการ คือระบบที่มีประสิทธิภาพ
“ปัญหาของบ้านเรา คือ พูดเรื่องนโยบายมากเกินไป คนไทยต้องการสิ่งที่จับต้องได้ เช่น กู้ภัยต้องมีการพัฒนา ไม่ใช่ให้ข่าวเพียงอย่างเดียวเราฝากความหวังไว้กับผู้นำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องการระบบที่เราเชื่อถือได้"
ลด : ไทยไม่ได้เป็นก๊าซเรือนกระจกเยอะ เราลดแค่ไหนก็ได้แค่นี้
รับมือ : เราต้องรับมือกับเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ กู้ภัย
ปรับตัว : เราต้องปรับตัวให้เศรษฐกิจให้น่าลงทุน แล้วมันต้อง green เท่านั้น ไม่งั้นต่างชาติจะไม่เข้ามาลงทุน
ผศ.ดร.ธรณ์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “ผู้ที่อยู่รอดท่ามกลางวิกฤตโลกร้อน คือคนที่มีเงินสด คำถามคือ ทำอย่างไรให้เก็บเงินให้ได้มากที่สุดดีกว่า”
คุณกรุณา ได้แชร์ความคิดเห็นว่า “อีก 30-40 ปีต่อจากนี้ จะเป็นช่วงที่เราจะต้องทำตัวเบาๆที่สุด อยู่ใกล้ๆ กู้ภัย ดูการเตือนภัยให้เป็น เพราะไม่มีทางที่จะไม่เจอภัยธรรมชาติ”
เทคโนโลยี อาจกลายเป็นหนึ่งในตัวช่วยหลักที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดท่ามกลางความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ คุณกรุณาได้แสดงความคิดเห็นว่า “สิ่งที่เคยพูดไว้ ขำๆต่อไปในอนาคตอาจจะไม่ขำ เช่น บ้านลอยน้ำ ในอนาคตเราอาจจะต้องใช้มันจริงๆ”
เทคโนโลยี จะเข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตเรามากขึ้น เช่น เทคโนโลยีการเตือนภัย เทคโนโลยีกู้ภัย ส่วนภาคธุรกิจก็ต้องพึงเทคโนโลยี เช่น ทำธุรกิจอย่างไร ให้ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก, ธุรกิจ GO Green คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพราะ โลกในอนาคต คือ โลกแห่งสีเขียว ชีวิตคนจะคิดมากขึ้น เช่น เราจะทำอย่างไร อยู่อย่างไร ท่ามกลางสภาพอากาศแปรปรวน หรือ เราจะทำอย่างไรให้ลูกหลานเราอยู่ได้ ด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดี