เมื่อโลกเผชิญกับความท้าทายมากมาย อยู่บนความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะโลกเดือดก็เป็นเรื่องสำคัญกับการดำเนินชีวิต และดำเนินธุรกิจของทุกคน SPOTLIGHT เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงได้จัดงานเสวนา SPOTLIGHT DAY 2024: Sustainability Disruption - ธุรกิจปรับ ก่อนถูกเปลี่ยน
การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน : ESG ตัวแปรสำคัญในอนาคตธุรกิจ
คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้กล่าวในงาน SPOTLIGHT DAY 2024 Sustainability Disruption หัวข้อ Technology Empowering SDGs เทคโนโลยีตัวช่วยบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน
โดยนำเสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน โดยเน้นย้ำถึงบทบาทของ ESG (Environmental, Social, and Governance) ซึ่งกำลังกลายเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จในเวทีการค้าโลก
จากประสบการณ์การเข้าร่วมประชุม World Economic Forum คุณจิรายุสได้สังเกตถึงแนวโน้มที่ ผู้นำระดับโลกต่างหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นความยั่งยืนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของสิ่งแวดล้อม รายงานจาก World Economic Forum ระบุว่าปี 2023 เป็นปีที่วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากปัญหามลภาวะทางอากาศสูงถึง 7 ล้านคน
การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition) ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องอาศัยเม็ดเงินลงทุนมหาศาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของเงินทุนดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นท้าทาย
ในปัจจุบัน ธุรกิจที่ดำเนินงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า "ธุรกิจสีเขียว" ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ ขณะเดียวกัน เงินทุนจากสถาบันการเงินก็มีข้อจำกัดในการลงทุนในโครงการที่ไม่ได้มุ่งเน้นผลตอบแทนทางการเงินเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิด "กฎการแข่งขันใหม่" ในเวทีการค้าโลก โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจสีเขียว ขณะที่ธุรกิจที่ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิม หรือที่เรียกว่า "ซัพพลายเชนสีน้ำตาล" จะต้องเผชิญกับแรงกดดันและอุปสรรคมากขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ภายในปี 2030 สหภาพยุโรปจะบังคับใช้มาตรการ Carbon Tag กับสินค้าที่นำเข้า หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สินค้าดังกล่าวอาจถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
คุณจิรายุส กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยว่า "ภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 80% ยังขาดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของ ESG หลายรายยังคงมองว่าเป็นเพียงกระแส หรือกลยุทธ์ทางการตลาด โดยมิได้ตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้"
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบจากกระแส ESG นักลงทุนสถาบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ โดยพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลควบคู่ไปกับผลตอบแทนทางการเงิน หากบริษัทจดทะเบียนไทยไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงที อาจสูญเสียความน่าเชื่อถือ และถูกถอดออกจากดัชนี ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินในระยะยาว
"ESG ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นกฎเกณฑ์ใหม่ที่ภาคธุรกิจต้องปฏิบัติตาม องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และสูญเสียโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน" คุณจิรายุสกล่าว
กรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ BlackRock บริษัทจัดการลงทุนระดับโลกได้ประกาศนโยบายการลงทุนอย่างชัดเจนว่า จะทยอยขายหุ้นของบริษัทที่ไม่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2030
"ESG ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงมิติของสิ่งแวดล้อม แต่ครอบคลุมถึงมิติทางสังคมและธรรมาภิบาลด้วย" คุณจิรายุสกล่าว
"องค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม"
คุณจิรายุสได้เชิญชวนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปลูกฝังความตระหนักรู้และนำหลักการ ESG ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง
"เรามีเวลาเตรียมตัวอีกเพียง 6 ปี ก่อนที่กฎกติกาของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง" คุณจิรายุสกล่าวทิ้งท้าย "อย่าปล่อยให้ประเทศไทยพลาดโอกาสในการพัฒนา และเสียโอกาสในการแข่งขันบนเวทีโลก"
โลกป่วย ธุรกิจต้องปรับ ก้าวสู่ความยั่งยืนกับกติกาใหม่
ด้านดร.ปฏิมา สินธุภิญโญ Associate Director of Sustainability Office, SCG ได้กล่าวในงานเสวนา SPOTLIGHT DAY 2024: Sustainability Disruption - ธุรกิจปรับ ก่อนถูกเปลี่ยน ในหัวข้อ "ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมอย่างไรกับกติกาด้านความยั่งยืน" โดยชี้ให้เห็นถึงสภาวะวิกฤตของโลกในปัจจุบัน เปรียบเสมือน "โลกกำลังป่วย" ด้วย 6 อาการหลัก ได้แก่
วิกฤตการณ์เหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ดร.ปฏิมา ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ในทุก 1 วินาที มีเด็กเกิดใหม่ 5 คน ซึ่งเด็กเหล่านี้ต้องเผชิญกับโลกที่กำลังป่วย ในขณะเดียวกัน แหล่งน้ำจืดทั่วโลกก็ลดลงอย่างรวดเร็ว คิดเป็นปริมาณเท่ากับ 50 สระว่ายน้ำโอลิมปิกในทุก 1 วินาที การบริโภคของมนุษย์ก็ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การผลิตกาแฟ 1 กิโลกรัม ใช้น้ำมากถึง 21,000 ลิตร หรือช็อกโกแลต 1 กิโลกรัม ใช้น้ำมากถึง 24,000 ลิตร
สำหรับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าก็เป็นอีกหนึ่งวิกฤต โดยในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ทั่วโลกลดลงไป 650 ล้านไร่ เทียบเท่ากับการสูญเสียพื้นที่ป่า 1 สนามฟุตบอลในทุก 1 วินาที นอกจากนี้ ในทุก 1 วินาที ยังมีการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น 500 ตัน โดยปัจจุบันมีการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินรวมกันถึง 41 พันล้านตันต่อปี ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โลกจะไม่สามารถฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้
กติกาใหม่ด้านความยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิด "กติกาใหม่ด้านความยั่งยืน" ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดย ดร.ปฏิมา ได้กล่าวถึง World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) หรือ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งให้ความสำคัญกับหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) โดยเน้นการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง เช่น การใช้น้ำ การปล่อยคาร์บอน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึง การบังคับใช้กฎหมาย เช่น Carbon Statement ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุน กำไรหรือขาดทุนของธุรกิจ
SCG ในฐานะสมาชิกของ WBCSD ได้ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอน เช่น การใช้พลังงานทดแทน แม้จะเป็นการลงทุนที่สูง แต่ก็เป็นการลงทุนเพื่อโลกที่ดีขึ้นและธุรกิจที่ดีขึ้นในระยะยาว
ดร.ปฏิมา เน้นย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาใหม่ในการทำธุรกิจ จะทำให้ "ธรรมชาติมีต้นทุน" เพราะโลกไม่สามารถแบกรับภาระจากการทำลายสิ่งแวดล้อมได้อีกต่อไป SCG จึงใช้กลยุทธ์ "Inclusive Green Growth" โดยมุ่งเน้น 3 ด้าน ได้แก่
ดร.ปฏิมา กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้การเปลี่ยนแปลงจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิธีการดำเนินธุรกิจจะนำไปสู่โลกที่น่าอยู่ และยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป
ปฏิวัติวงการยางพาราไทย ยางมีพิกัด สู่ความยั่งยืนที่จับต้องได้
สิ่งที่เราจะอธิบายต่อไปนี้ไม่ใช่แค่แนวคิด แต่เป็นสิ่งที่ คุณปภาวี ศรีสุทธิพงศ์ Business Development and Partnership Manager กลุ่มบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้ลงมือทำจริง ก่อนที่จะอธิบายถึงวิธีการ ขออนุญาตแนะนำองค์กรของเราก่อน เราดำเนินธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เรามีสวนยางเป็นของตัวเอง และเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก มีโรงงานผลิตถุงมือยาง รวมถึงธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
ศรีตรังมองเห็นทั้งโอกาสและความท้าทายมากมาย แต่สิ่งสำคัญคือการใช้กลยุทธ์ที่ผสานความยั่งยืนเข้ากับธุรกิจ ตลอด 37 ปีที่ผ่านมา กลยุทธ์หนึ่งที่เราใช้มาอย่างต่อเนื่องคือ “โฟร์กรีน” ประกอบด้วย
โอกาสจากความท้าทาย
หลายคนอาจมองว่าปัญหา คือ อุปสรรค แต่เรามองว่าปัญหา คือ โอกาส ตัวอย่างเช่น กฎระเบียบ EUDR ของสหภาพยุโรป กำหนดให้สินค้าที่ส่งออกไปยุโรปต้องระบุแหล่งที่มาของยาง รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ และความถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
โดยมองว่า EUDR เป็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า และ meet requirement ที่ EU กำหนด ซึ่งจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมยางพาราไทยไปอีกขั้น แน่นอนว่า ความท้าทายคือการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หากปรับตัวช้าก็จะเสียเปรียบคู่แข่ง แต่ถ้าปรับตัวได้เร็วก็จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยังช่วยให้ Stakeholder ในอุตสาหกรรมยางได้รับประโยชน์ร่วมกัน
“ยางมีพิกัด” พลิกโฉมอุตสาหกรรม
ที่ผ่านมา ศรีตรังกรุ๊ป ได้ประกาศความพร้อมในการดำเนินโครงการ “ยางมีพิกัด” เพื่อให้เกษตรกรและผู้ค้าเข้าใจถึงความสำคัญของการเก็บข้อมูลและการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความยั่งยืน และเป็นรากฐานในการบูรณาการและต่อยอดในอนาคต
ศรีตรัง อีโคซิสเต็มส์
ศรีตรังได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสร้าง Digital Products สำหรับ Network ของบริษัท ประกอบด้วย
แอปพลิเคชันทั้ง 3 นี้ รวมถึงโครงการ “ยางมีพิกัด” คือ jigsaw สำคัญในการสร้าง “ศรีตรัง อีโคซิสเต็มส์” ที่ Stakeholder ทุกคนสามารถอยู่ในระบบนิเวศเดียวกันได้
ความร่วมมือ สู่ความยั่งยืน :
“ยางมีพิกัด” เป็นโครงการที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมยางพาราไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทำให้ทุกคนในห่วงโซ่ได้รับราคาที่ดีขึ้น ทั้งเกษตรกร ผู้ค้า และผู้ประกอบการ เรายังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นแต้มต่อสำคัญเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ภาคธุรกิจยังผ่านการตรวจสอบ (Audit) จากลูกค้าต่างประเทศ เช่น ยุโรป จีน เกาหลี ซึ่งทำให้เราได้รับความรู้เชิงรูปธรรม และเข้าใจถึงวิธีการนำ Sustain ไปปฏิบัติจริง รวมถึงการตรวจสอบ จุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง
สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักให้กับเกษตรกร เกี่ยวกับการทำยางที่ดี และการจัดการข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ไม่ใช่แค่กลุ่มบริษัทศรีตรังเท่านั้น เราพยายามลงพื้นที่ และใช้แอปพลิเคชันในการสื่อสารกับเกษตรกร
Traceability Ecosystem
ระบบ Traceability Ecosystem ของศรีตรังกรุ๊ป ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นสวนยางของเราเอง ทำให้สามารถสร้างมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ Low Carbon Footprint ได้ ส่วนยางที่รับซื้อจากเกษตรกรและผู้ค้า ศรีตรังก็นำระบบนี้มาใช้ในการเก็บข้อมูลจนกระทั่งเข้าสู่โรงงาน โดยมีการแยกประเภทอย่างชัดเจนป้องกันการปะปน ตั้งแต่ออกจากสวนจนถึงสายการผลิตและการส่งออก
ความยั่งยืน วิถีชีวิตอนาคต
ระบบนี้จะอยู่ในระยะยาว ไม่ใช่แค่ EU แต่จีนและสหรัฐฯ ก็อาจมี Regulation แบบเดียวกันนี้ ซึ่งแต่ก่อนเป็นเพียงทางเลือก แต่ตอนนี้ได้กลายเป็นข้อบังคับ และมีบทลงโทษชัดเจน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้นซึ่งเป็นความท้าทาย แต่ศรีตรังก็มุ่งมั่นที่จะก้าวผ่านไปให้ได้
เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และการลงทุนต้องมองการณ์ไกล หากไม่ลงทุนวันนี้ ปีหน้าอาจได้รับผลกระทบไม่สามารถส่งออกไปยุโรปได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ศรีตรังกรุ๊ป แต่รวมถึงผู้ค้า และเกษตรกรที่ส่งยางให้กับศรีตรังและโรงงานอื่นๆ ที่ไม่ได้เตรียมตัวก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน
“เราพยายามอย่างเต็มที่ ทีมงานทุกคน และทุกคนที่อยู่ใน Ecosystem นี้ ได้ร่วมมือกันทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่าความยั่งยืนไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่มัน คือ วิถีชีวิตที่ทุกคน ทุก Stakeholder ในห่วงโซ่อุปทานยางพาราไทยต้องตระหนัก ความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้เพียงลำพัง ทุกคนในห่วงโซ่ต้องลุกขึ้นมาตระหนักถึงความยั่งยืนเพื่อเติบโตไปด้วยกัน”